กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรบ้านโตนปาหนัน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5281-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 กันยายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายดนมาหนับ จิแอ 2. นายบีสอน ลัสมาน 3. นางกอหรี เส็นสัน 4. นางรอกาย๊ะ หัสนี 5. นางสาวมาเหรียม มรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ      จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา    ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น บ้านโตนปาหนันเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลทุ่งนุ้ย      ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่มีความสำคัญเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทุกคนในสังคม เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผลิตอาหารที่ทุกคนต้องกินต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และเนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยและสังคมโลก ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และยุคที่มีการแข่งขันทางการค้าการลงทุนทำให้การประกอบอาชีพการเกษตรจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคและวิธีการ    ที่เหมาะสม ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๕ บ้านโตนปาหนัน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านโตนปาหนัน ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้แกนนำสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการอบรมเพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบทางสุขภาพ

เกษตรกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 80

2 เพื่อให้เกษตรได้รับการคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส

เกษตรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 20,450.00 0 0.00 20,450.00
29 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม อบรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านโตนปาหนัน 100 20,450.00 - -
รวมทั้งสิ้น 100 20,450.00 0 0.00 20,450.00

๑ จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ๒ จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ ๓ เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ๔ ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ๕ ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ๖ จัดบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในบ้านโตนปาหนัน
โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนุ้ย เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแนะนำเรื่องสุขภาพแก่เกษตรกร และการตรวจซ้ำ ๗ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานปัญหา อุปสรรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบทางสุขภาพ
  2. เกษตรที่เข้าร่วมอบรมได้รับการคัดกรองเจาะเลือดหาเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2567 11:20 น.