โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปลอดโรค"หัด" และโรคติดต่อ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปลอดโรค"หัด" และโรคติดต่อ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 36,690.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนัรกีส ยะปา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 370 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนเด็กเล็ก (0-6 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่ต้องสงสัยและป่วยด้วยโรคหัด รายงานสถานการณ์โรคหัด ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
21.00 | ||
2 | จำนวนเด็กเล็ก (0-6 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่ป่วยด้วยโรคติดต่ออื่น ๆ ได้แก่ โรคมือเท้าปากไอกรน และโรคไข้เลือดออก รายงานสถานการณ์โรคติดต่อในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
8.00 | ||
3 | ร้อยละของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัด และโรคติดต่ออื่น ๆ แบบประเมินความรู้เรื่องโรคหัด และโรคติดต่ออื่น ๆ ก่อนและหลังอบรม |
70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลสู่บุคคลหรือจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ อาจเกิดจากเชื้อโรค นอกจากนี้สาเหตุของการเกิดโรคติดต่อสามารถแพร่กระจายได้ในระบบทางเดินหายใจ, การสัมผัสผิวหนัง, การรับประทานอาหาร, หรือผ่านทางการสัมผัสโดยตรง เช่น การจับมือ การใช้อากาศร่วมกัน หรือการสัมผัสร่างกาย เป็นต้น หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาดเมื่อมีการถ่ายทอดไปยังผู้อื่นแสดงว่ามีการะบาดของโรคนั้นขึ้นและจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัดและการป้องการที่ได้มาตรฐานเพื่อลดอัตราการป่วยตายและการแพร่กระจายของโรคที่เกิดขึ้น โรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ได้แก่ โรคหัด โรคมือ เท้า ปาก โรคเฮอร์แปงไจน่า โรคโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
โรคหัด (Measles) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย ลักษณะอาการของโรค คือ ไข้ออกผื่น ไข้สูง ตาแดง มีจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม (Koplik's spots) และอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไอร่วมด้วย พบได้ทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กเล็ก อายุ 1 - 6 ปี โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ นอกจากนี้โรคหัดยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ และอาจจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคหัดในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 8,106 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 3,475 ราย เสียชีวิตจำนวน 7 รายจากการติดตามประวัติวัคซีนป้องกันโรคหัดพบว่าผู้เสียชีวิต 4 ราย ไม่เคยได้รับวัคซีน และ 2 ราย ไม่ทราบหรือไม่แน่ใจประวัติการได้รับวัคซีน และผู้เสียชีวิต 1 ราย ได้รับวัคซีน 1 เข็ม สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดนราธิวาส ข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 1,259 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 951 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย สถานการณ์โรคหัดในอำเภอสุไหงโก-ลก ข้อมูลจากสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 86 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 64 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต สถานการณ์โรคหัดในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ข้อมูลจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 พฤศจิกายน 2567 พบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหรือสงสัยหัดจำนวนทั้งสิ้น 53 ราย ได้รับการยืนยันโรคหัดจากทางห้องปฏิบัติการจำนวน 25 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็กเล็ก และพบการระบาดในหลายโรงเรียน โดยเฉพาะในระดับชั้นก่อนอนุบาลจนถึงประถมศึกษา และพบว่ามากกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด
ดังนั้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคหัดเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคในพื้นที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคติดต่อในเด็กเล็ก ร้อยละ 90 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ |
50.00 | 90.00 |
2 | เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กเล็ก (0-6ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ร้อยละ 80 จำนวนผู้ป่วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กเล็ก (0-6ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกลดลงจากเดิม |
35.00 | 7.00 |
3 | เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้ครูผู้ดูแล และผู้ปกครองในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็กเล็ก ร้อยละ 100 ของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด |
50.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 36,690.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัด และโรคติดต่ออื่น ๆ | 0 | 26,590.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค และกิจกรรม Big Cleaning Day ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | 0 | 10,100.00 | - |
- ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ครูผู้ดูแล และผู้ปกครองมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในเด็ก
- ลดอัตราการป่วยด้วยโรคหัดและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 00:00 น.