กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการแก้ป้ญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปีไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ป้ญหาเด็กก่อนวัยเรียน 0-5 ปีไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2524-2-0025
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกาหลง
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธิดารัตน์ ใหม่แย้ม
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
ละติจูด-ลองจิจูด 14.614915,101.020591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2567 31 ธ.ค. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
70.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
50.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
90.00
4 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย
70.00
5 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขใช้การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้ ด้วยวัคซีนโดยบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานเข้ากับการบริการสาธารณสุขตามระบบปกติโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นโรคที่ค่อย ๆ หายไปจากประเทศไทยเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนของระบบสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น โดยความสำเร็จของวัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนนั้นขึ้นกับองค์ประกอบสำคัญ ๒ ประการ คือ ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน (Vaccine coverage) สูง และประสิทธิผลของวัคซีน (vaccine effectiveness) ดี อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนสูงตั้งแต่ก่อนเริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น เป็นเพราะองค์ประกอบสำคัญทั้ง ๒ ประการนี้ยังไม่สมบูรณ์และจากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กอายุ๐-๕ ปี ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีความครอบคลุมการได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประกอบกับผู้ปกครองขาดความรู้ ทัศนคติในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและในปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำเนินงานในเชิงรุกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาแก้ไขอย่างเร่งด่วน หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงมากยิ่งขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ ตำบลกาหลง เห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ ๐ – ๕ ปีจึงจัดทำโครงการแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน ๐-๕ ปีไม่ได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กวัยก่อนเรียนในตำบลกาหลงมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

70.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

50.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

90.00 1.00
4 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย เพิ่มขึ้น

70.00 1.00
5 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

50.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 ประชุมแกนนำและ อสม. เพื่อชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานวัคซีนในพื้นที่ 0 7,500.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 อบรมฟื้นฟู อสม.เรื่องวัคซีนและอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีน 0 8,080.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุหรือไม่ยินยอมให้ฉีดวัคซีน 0 4,420.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น ๒. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความจำเป็นในการรับวัคซีนของบุตร และอาการข้างเคียงของวัคซีนหลังได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2567 16:20 น.