โครงการผู้สูงวัยไม่พึ่งพิง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงวัยไม่พึ่งพิง เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 27 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 32,290.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรอซีดา เจ๊ะแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จากการที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีมากเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ไทยได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ" (Aged Society) เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 20% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ จวบจนถึงปัจจุบันและยังคงมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มมากขึ้นทุกปีขณะที่ประชากรวัยทำงานและอัตราการเกิดเด็กกลับลดลง ส่งผลให้กลุ่มประชากรวัยทำงานแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างไรก็ตามผู้สูงอายุส่วนหนึ่งยังคงทำงานหาเลี้ยงชีพเพื่อช่วยลดภาระในครัวเรือน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงและสามารถทำงานได้ แต่การทำงานของผู้สูงอายุอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ลดลง ภาครัฐจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของผู้สูงอายุทั้งนี้การคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะขยับเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super Aged Society) มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 30 ในปี พ.ศ.2576
ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีประชากรผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 6,203 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 ในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 6,554 คน คิดเป็นร้อยละ 16.36 และในปี 2567 จำนวน 6,585 คน คิดเป็นร้อยละ 16.47 และมีผู้พิการจำนวน 802 คน ซึ่งมีกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ในปี 2567 จำนวน 112 คน ทั้งนี้ ประเทศไทยเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับ เมื่อมีคนชรา รวมถึงผู้พิการมากขึ้น ส่งผลให้สภาพร่างกายและจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการปรับตัวสภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ปัญหาด้านสุขภาพก็จะตามมา โดยเฉพาะในโรคยอดฮิตในกลุ่มวัยสูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงคือ หลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดอัลไซเมอร์และข้อเข่าเสื่อม ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนควรมีการเตรียมการเพื่อรองรับจำนวนผู้สูงอายุที่จะมีเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยได้มีนโยบายสำคัญให้ผู้สูงอายุติดสังคมและกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้านติดเตียง) ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและได้สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยบริหารจัดการพัฒนาระบบระยะยาวเชิงรุกที่บ้าน เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นหน่วยหลักในการบริหารและจัดบริการดูแลระยะยาวฯ เชิงรุกที่บ้าน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการประจำในพื้นที่
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้ตระหนักถึงประชาชนในกลุ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ยังไม่ได้รับชุดสิทธิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ได้รับสิทธิฯ และเพื่อให้เกิดความควบคลุมในพื้นที่ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง ร้อยละผู้สูงอายุสามารตอบคำถามความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ที่มึภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการดูแลตามชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ร้อยละผู้ที่มีภาวะพิ่งพิงในชุมชนได้รับการคัดกรองการประเมิน ADL และได้รับการดูแลตามชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ |
50.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,290.00 | 0 | 0.00 | |
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมส่งเสริมความรู้ การปฎิบัติตัว กลุ่มติดสังคม | 0 | 16,090.00 | - | ||
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ลงคัดกรองกลุ่มติดบ้านติดเตียงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง | 0 | 16,200.00 | - |
- ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง
- ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตามชุดสิทธฺิประโยชน์ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 00:00 น.