โครงการเสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L6961-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก |
วันที่อนุมัติ | 27 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 18,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพนิดา วรรณวงศ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | การเจ็บป่วยทางจิตเวชทำให้บุคคลมีความผิดปกติทางด้านความคิด การรับรู้ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บางครั้งมีอารมณ์รุนแรงแสดงออกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การใช้คำพูดหยาบคาย การพูดข่มขู่บังคับ รวมทั้งการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ตลอด | 70.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเจ็บป่วยทางจิตเวชทำให้บุคคลมีความผิดปกติทางด้านความคิด การรับรู้ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย บางครั้งมีอารมณ์รุนแรงแสดงออกพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การใช้คำพูดหยาบคาย การพูดข่มขู่บังคับ รวมทั้งการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ตลอดจนทำลายทรัพย์สินต่างๆ การแสดงออกทางพฤติกรรมแบบนี้มีผลกระทบต่อครอบครัวและชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชที่ต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และจากการให้การพยาบาลที่ผ่านมาพบว่าบุคลากรสาธารณสุขก็ถูกทำร้ายเช่นกันซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง ในปี 2565 จำนวน 72 คน (ต.สุไหงโก-ลก 25 คน ) ปี 2566 จำนวน 86 (ต.สุไหงโก-ลก 29 คน) และปี 2567 จำนวน 102 (ต.สุไหงโก-ลก 56 คน) จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชไม่เพียงทำให้เกิดอันตรายต่อตนเอง แต่ยังทำให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ผู้ป่วยเหล่านี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ และป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงขึ้น ในการปฏิบัติสามารถทำได้หลายวิธี คือ การล็อคตัว การผูกยึด การให้ยา รวมทั้งการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ดังนั้น เพื่อให้การจำกัดพฤติกรรมของผู้ป่วยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทางกลุ่มงานจิตเวช จึงจัดให้มีการเสริมทักษะโดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติการจำกัดพฤติกรรมขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวช ร้อยละ 70 |
50.00 | 70.00 |
2 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 70 |
50.00 | 70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 18,600.00 | 0 | 0.00 | |
13 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการจำกัดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวช | 0 | 18,600.00 | - |
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้
- ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการจำกัดพฤติกรรมผู้ที่มีอาการทางจิตเวชได้ และสามารถปฏบิติได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 14:31 น.