กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโฟม ลดป่วย ลดโลกร้อน ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5221-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 15,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารา ช่วยเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 เม.ย. 2561 11 เม.ย. 2561 7,250.00
2 16 เม.ย. 2561 16 เม.ย. 2561 260.00
3 17 เม.ย. 2561 17 เม.ย. 2561 1,200.00
4 18 เม.ย. 2561 18 เม.ย. 2561 7,200.00
รวมงบประมาณ 15,910.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบันร้านจำหน่ายอาหารมีการใช้โฟมบรรจุอาหารเพิ่มขึ้นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปหลายๆด้าน ประชาชนต้องการความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การประกอบอาหารด้วยตนเองลดน้อยลง ประชาชนหันมาพึ่งพาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารแทน ซึ่งแม้จะมีโครงการตรวจร้านอาหารเชิงบูรณาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste (CFGT) แล้วก็ตาม แต่กระนั้นแล้วก็ยังพบพิษภัยสารเคมีที่เป็นอันตรายปนเปื้อนแฝงมากับอาหารสู่ผู้บริโภคผ่านภาชนะบรรจุอาหารประเภท “โฟม” ที่ตามร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหารและใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวก ราคาถูก และหาซื้อได้ง่าย แต่หารู้ไม่ว่าในโฟมมีสารพิษสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง คือ สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาทส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี ความจำเสื่อม สมาธิสั้น และเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หากได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกายเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ นอกจากโฟมมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว โฟมก็ยังส่งผลกระทบก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจปริมาณขยะตั้งแต่ปี 2552-2556ของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะประเภทโฟมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 34 ล้านใบต่อวันเป็น 61 ล้านใบต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ใบต่อคนต่อวัน โดยเฉพาะในสถานที่หรือในเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก จะพบว่ามีขยะประเภทโฟมมากกว่าปกติ ซึ่งโฟมเป็นขยะที่มีความคงทน และใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 100 ปี จึงสร้างปัญหาในการกำจัด เนื่องจากต้องใช้พลังงาน ต้นทุนการกำจัดสูงเปลืองพื้นที่ฝั่งกลบ และกระบวนการกำจัดขยะโฟมทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
จากปัญหาดังกล่าว ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ลดโฟม ลดป่วย ลดโลกร้อน ขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน และได้เชิญชวนประชาชน ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารร่วมรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับสารพิษ และสารก่อมะเร็งจากภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และมาเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัย ทดแทน คือ “ภาชนะที่ทำจากเยื่อพืชและสีธรรมชาติ” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ภาชีวะ” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี และปลอดภัยกับสุขภาพครบทุกมุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำไปใส่อาหาร นอกจากนี้ ยังสามารถนำภาชีวะเข้าตู้อบไมโครเวฟอุ่นอาหารได้ด้วย โดยจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเข้าไปในอาหาร เพราะผลิตภัณฑ์คือเยือพืชธรรมชาติทั้งหมด นอกจากนี้เมื่อใช้เสร็จ เพียงแค่นำภาชีวะไปฝังกลบในดิน ภาชีวะก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยภายใน 1 เดือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อให้เป็นโรงเรียน/ชุมชน ต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (No Foam)

ชุมชน/โรงเรียน มีนโยบายการประกาศ เป็นชุมชน/โรงเรียนปลอดโฟม อย่างน้อย 1 แห่ง

8.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,300.00 5 15,910.00
6 - 9 ก.พ. 61 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ ลดป้วย ลดโฟม ลดโลกร้อน 0 0.00 0.00
18 มี.ค. 61 - 18 เม.ย. 61 จัดอบรมแกนนำในการประชาสัมพันธ์การเลิกใช้โฟม จำนวน 60 คน เพื่อให้มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายของการใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ร่วมกันจึงทำนโยบายของชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คลอบคลุมทุกหมู่บ้าน เลือกใช้วัสดุบรรจุอาหารแทนโฟมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น จาน กล 0 7,200.00 8,400.00
11 เม.ย. 61 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร /สติ๊กเกอร์ “Say No To Foam” /ป้ายโฟมบอร์ด "ร้านนี้ห่วงใยลูกค้าไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร" ติดในหมู่บ้าน/โรงเรียน/สถานที่ราชการ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 0 7,850.00 7,250.00
1 พ.ค. 61 ติดตามเยี่ยมร้านอาหารแผงลอย/โรงเรียน/สถานที่ราชการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 0 0.00 260.00
1 พ.ค. 61 มอบป้าย "ร้านนี้ห่วงใยลูกค้าไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร" 0 1,250.00 0.00

ขั้นเตรียมการ
1. 1. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมเอกสารสถานการณ์ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เพื่อจัดทำโครงการ 2. 2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและจัดทำแผนการดำเนินงาน 3. 3. ติดประสามงานและติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิทยากร/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียน ชุมชนและประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 4. 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ 5. ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมแกนนำในการประชาสัมพันธ์การเลิกใช้โฟม จำนวน 60 คน เพื่อให้มีความรู้และตระหนักถึงอันตรายของการใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ร่วมกันจึงทำนโยบายของชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คลอบคลุมทุกหมู่บ้าน เลือกใช้วัสดุบรรจุอาหารแทนโฟมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น จาน กล่องใช้ใส่อาหารตามสั่ง ถ้วยที่ใช้ใส่น้ำแข็งใส ซึ่งทำจากซานอ้อย และแป้งมันสำปะหลัง และกล่องพลาสติกใสที่ไม่ใช้โฟม 2.จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร /สติ๊กเกอร์ “Say No To Foam” ติดในหมู่บ้าน/โรงเรียน/สถานที่ราชการ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 3. ให้แกนนำชุมชน รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยการแจกสติ๊กเกอร์ “Say No To Foam” /ป้ายโฟมบอร์ด “ร้านนี้ปลอดภัย ไม่ใช่โฟม” ในโรงเรียน/สถานที่ราชการ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ขั้นสรุปผลโครงการ 1. ติดตามเยี่ยมร้านอาหารแผงลอย/โรงเรียน/สถานที่ราชการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 1 เดือนหลังจากจัดกิจกรรม 2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ตามขั้นตอนและรูปแบบที่กำหนดส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าบอน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพกับการ ลด ละ เลิก ใช้โฟมบรรจุอาหาร
  3. สามารถลดปริมาณขยะจากโฟมได้ในระดับหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2560 13:26 น.