กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 67-l7889-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำปริก
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัมพร ศิริวัฒน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล       องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2558-2573 ซึ่งการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและสำหรับประเทศไทย การดำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพของประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2545  อันส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยทุกคน ในการเข้าถึงบริการด้านการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานร่วมกันในด้านการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในกลุ่มที่ต้องได้รับการบริการด้านการสาธารณสุขเป็นกรณีพิเศษ อาทิ กลุ่มแม่และเด็ก      กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพอย่างเหมาะสม และทั่วถึงตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545    ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 ข้อ 6 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่  โดยการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุขหน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ กองทุนฯท้องถิ่นจึงเป็นแหล่งทุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารจัดการเพื่อให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ได้รับบริการดูแลสุขภาพอย่างครอบคลุมและเหมาะสม       กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลปริก เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการบริหารจัดการกองทุนเป็นกลไกสำคัญในการที่จะเชื่อมโยงเข้าถึง การประสาน การทำงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน บทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ การใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการทำงานด้านบัญชี การดำเนินโครงการ กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ส่งผลให้ดำเนินการการบริหารจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนการบริหารงานกองทุนฯให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยรับทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ ปี 2568

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : การสนับสนุนงบประมาณครอบคลุมหน่วยรับทุน 8 ประเภท และครอบคลุม 8 กลุ่มเป้าหมาย

0.00
2 เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง โปร่งใส่ ตรวจสอบได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : การบริหารจัดการกองทุนโปร่งใส ตรวจสอบได้ร้อยละ 100

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : การเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบความโปร่งใส สามารถเข้าถึงได้ง่าย

0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนความรู้ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการกองทุนฯฝ่ายต่างๆและคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานกองทุนฯ

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : คณะกรรมการกองทุนฯ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนความรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ชุมชน ทำให้เกิดการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 90,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ แลกเปลี่ยนความรู้ คณะกรรมการฯคณะอนุกรรมการฯ ,คณะทำงาน,เจ้าหน้าที่ชุมชน 0 3,550.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 บริหารจัดการประเภท ครุภัณฑ์วัสดุสำนักงาน ค่าจ้าง 0 14,150.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 บริหารจัดการซ่อมแซมบำรุงและรักษา 0 2,000.00 -
8 - 16 ต.ค. 67 จัดทำประชาคมสุขภาพในชุมชนทุกชุมชน และที่เทศบาลตำบลปริก 0 10,000.00 -
1 ธ.ค. 67 - 30 ส.ค. 68 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ,คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ,คณะทำงาน 0 60,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการบริหารฯ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าใจวัตถุประสงค์ แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ และการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. คณะกรรมการบริหารฯและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจในการกลั่นกรองโครงการ การอนุมัติโครงการ ติดตามโครงการกิจกรรม และแนวทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  3. คณะกรรมการบริหารฯ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพตนเอง แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการกองทุนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2567 14:26 น.