2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
หลักการและเหตุผล
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงระหว่างปีพ.ศ.2558-2573 ซึ่งการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและสำหรับประเทศไทย การดำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพของประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2545อันส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวไทยทุกคน ในการเข้าถึงบริการด้านการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานร่วมกันในด้านการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในกลุ่มที่ต้องได้รับการบริการด้านการสาธารณสุขเป็นกรณีพิเศษ อาทิ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพอย่างเหมาะสม และทั่วถึงตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 ข้อ 6 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุขหน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ กองทุนฯท้องถิ่นจึงเป็นแหล่งทุนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะบริหารจัดการเพื่อให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ได้รับบริการดูแลสุขภาพอย่างครอบคลุมและเหมาะสม
กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลปริก เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นการบริหารจัดการกองทุนเป็นกลไกสำคัญในการที่จะเชื่อมโยงเข้าถึง การประสาน การทำงานให้คณะกรรมการบริหารกองทุนเข้าใจวัตถุประสงค์การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน บทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการ การใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในการทำงานด้านบัญชี การดำเนินโครงการ กิจกรรม และการจัดการข้อมูลพื้นฐาน ส่งผลให้ดำเนินการการบริหารจัดการงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไปจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริกขึ้น
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. คณะกรรมการบริหารฯ อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าใจวัตถุประสงค์ แนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจนบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการร่วมเป็นคณะกรรมการตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง
หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๖๑ และการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. คณะกรรมการบริหารฯและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ คณะทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจในการกลั่นกรองโครงการ การอนุมัติโครงการ ติดตามโครงการกิจกรรม และแนวทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3. คณะกรรมการบริหารฯ คณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพตนเอง แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และบริหารจัดการกองทุนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น