กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
รหัสโครงการ 68-L5307-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 24,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวัชรี บินสอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2364 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง
48.45
2 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน
52.18
3 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการส่งต่อโดยแกนนำ อสม.เข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามภาวะสุขภาพ
22.41

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่่ยงต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันมีการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยเองไม่รู้ตัว จนเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้้เกิดความผิดปกติในระบบต่่างๆ ของร่างกาย และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs ถึง 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของสาเหตุการเสียชีวิต ทั้งหมดของประชากรโลก และมากกว่าร้อยละ 70 ของสาเหตุุการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศ ปัจจัยหลักมาจากการสูบบุหรี่่ การดื่่มเครื่องดื่่มที่่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่่ไม่เหมาะสม ชอบรับประทานอาหารที่มีรสจัด หวาน มัน และเค็ม เป็นประจำการ มีภาวะเครียด และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังได้รับผลจากปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาดที่่เปลี่่ยนแปลงไป และการสื่่อสารที่่ใช้เทคโนโลยีที่่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คน สิ่่งเหล่านี้จึงส่งผลถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่่ยนไปจากเดิม และทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อที่่สำคัญเพิ่มขึ้น อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน (รายงานประจำปี 2566 กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ)
จากการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ของ รพ.สต.บ้านควน 1 หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปี 2567 ประชาชนต้องได้รับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,929 คน ค้นหาโรคเบาหวาน จำนวน 2,356 คน กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เข้ารับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 937 คน คิดเป็นร้อยละ 48.57 ปกติ จำนวน 753 คน คิดเป็นร้อยละ 80.38 เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 6.83 สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 11.85 และเข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,231 คน คิดเป็นร้อยละ 52.25 ปกติ จำนวน 1,058 คน คิดเป็นร้อยละ 85.95 เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 10.89 และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 2.67 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่ จำนวน 116 คน เข้าพบเจ้าหน้าที่ จำนวน26 คน คิดเป็นร้อยละ 22.41 จากการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประชาชนยังตระหนักและให้ความสนใจน้อยทำให้ประชาชนไม่รู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเองไม่มีการควบคุม ป้องกัน และขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเกิดกลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ)ตามมาซึ่่งกลุ่มโรคดังกล่าว ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปี พ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาวะโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสน (รายงานสถานการณ์ พ.ศ.2562 กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ)
ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1 จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แจ้งผลการคัดกรองเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ,โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 55

52.18 55.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55

48.45 55.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งตรวจเพื่อยืนยันการเจ็บป่วย

กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการเจ็บป่วย เข้ารับบริการ
ร้อยละ 50

22.41 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,900.00 1 5,400.00
1 - 31 ม.ค. 68 ประชุมแกนนำ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ 0 0.00 -
1 ก.พ. 68 - 30 พ.ค. 68 ออกหน่วยรณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในประชาชน อายุ35 ปี ขึ้นไป ที่เข้ารับการคัดกรอง 0 24,900.00 5,400.00
1 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีละครั้ง ทราบถึงภาวะสุขภาพตนเอง ได้รับการดูแลจัดการที่เหมาะสม และได้รับความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับเรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวันสามารถประเมินสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ และจัดการตนเองได้ เมื่อพบความผิดปกติ
  2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการเข้ารับบริการ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อติดตาม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีแกนนำ อสม.ในชุมชนคอยให้บริการ ในการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
  3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อโดยแกนนำ อสม.ให้พบเจ้าหน้าที่รพ.สต. เพื่อติดตามภาวะสุขภาพซ้ำ ในรายที่ต้องส่งพบแพทย์เพื่อยืนยันการเจ็บป่วยทำให้ได้รับการรักษา และติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดลง หรือ เกิดช้าลง
  4. ประชาชนหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2567 00:00 น.