กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.บ้านควน 1 เบอร์โทรศัพท์ 089-4677379
2.นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-4884177
3.นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 089-9743341
4.นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทรศัพท์ 086-9553967
5.นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทรศัพท์ 088-7955154

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

 

48.45
2 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน

 

52.18
3 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการส่งต่อโดยแกนนำ อสม.เข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามภาวะสุขภาพ

 

22.41

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่่ยงต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันมีการดำเนินโรคเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ผู้ป่วยเองไม่รู้ตัว จนเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้้เกิดความผิดปกติในระบบต่่างๆ ของร่างกาย และเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs ถึง 41 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74 ของสาเหตุการเสียชีวิต ทั้งหมดของประชากรโลก และมากกว่าร้อยละ 70 ของสาเหตุุการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศ ปัจจัยหลักมาจากการสูบบุหรี่่ การดื่่มเครื่องดื่่มที่่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่่ไม่เหมาะสม ชอบรับประทานอาหารที่มีรสจัด หวาน มัน และเค็ม เป็นประจำการ มีภาวะเครียด และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังได้รับผลจากปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาดที่่เปลี่่ยนแปลงไป และการสื่่อสารที่่ใช้เทคโนโลยีที่่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คน สิ่่งเหล่านี้จึงส่งผลถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่่ยนไปจากเดิม และทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อที่่สำคัญเพิ่มขึ้น อาทิ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน (รายงานประจำปี 2566 กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ)
จากการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ของ รพ.สต.บ้านควน 1 หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ปี 2567 ประชาชนต้องได้รับการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,929 คน ค้นหาโรคเบาหวาน จำนวน 2,356 คน กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เข้ารับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 937 คน คิดเป็นร้อยละ 48.57 ปกติ จำนวน 753 คน คิดเป็นร้อยละ 80.38 เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 6.83 สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 11.85 และเข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,231 คน คิดเป็นร้อยละ 52.25 ปกติ จำนวน 1,058 คน คิดเป็นร้อยละ 85.95 เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 10.89 และสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 2.67 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่ จำนวน 116 คน เข้าพบเจ้าหน้าที่ จำนวน26 คน คิดเป็นร้อยละ 22.41
จากการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ประชาชนยังตระหนักและให้ความสนใจน้อยทำให้ประชาชนไม่รู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเองไม่มีการควบคุม ป้องกัน และขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเกิดกลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ)ตามมาซึ่่งกลุ่มโรคดังกล่าว ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปี พ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาวะโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึงปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปี พ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสน (รายงานสถานการณ์ พ.ศ.2562 กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ)
ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 1 จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แจ้งผลการคัดกรองเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งได้รับการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ,โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 55

52.18 55.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55

48.45 55.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งตรวจเพื่อยืนยันการเจ็บป่วย

กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อเพื่อยืนยันการเจ็บป่วย เข้ารับบริการ
ร้อยละ 50

22.41 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,364
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแกนนำ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำ อสม.เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมแกนนำ อสม. พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  พร้อมทั้งอธิบายและทำความเข้าใจกับแกนนำ อสม.เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในโครงการ  การบันทึกรายงาน พร้อมทั้งสุ่ม อสม.สาธิตการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว  การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง  และมอบหมายงานที่ต้องรับผิดชอบ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ ในกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ชักชวนเข้าร่วมกิจกรรม  ซึ่งกิจกรรมในโครงการ   มีดังนี้   มีการซักประวัติทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว คำนวณดัชนีมวลกาย  วัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย  แจ้งผลการคัดกรอง  และให้ความรู้ เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
  3. จัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์  ที่ใช้ในกิจกรรมคัดกรอง
  4. จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการคัดกรองสุขภาพ,แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกสรุปผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ อสม.จำนวน 90 คน สามารถจัดกลุ่มผู้รับบริการ และแจ้งผลการคัดกรองแก่ผู้รับบริการได้ถูกต้อง พร้อมทั้งแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้รับบริการได้เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวันส่งผลให้ประชาชนเกิดการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ออกหน่วยรณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในประชาชน อายุ35 ปี ขึ้นไป ที่เข้ารับการคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
ออกหน่วยรณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในประชาชน อายุ35 ปี ขึ้นไป ที่เข้ารับการคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แกนนำ อสม.ลงพื้นที่รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในชุมชน หมู่ที่2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควนจำนวน 2 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการให้มากที่สุดโดยมีกิจกรรมดังนี้มีการซักประวัติข้อมูลทั่วไปพฤติกรรมสุขภาพวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักวัดรอบเอวคำนวณดัชนีมวลกายวัดความดันโลหิต ตรวจหาระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอยประเมิน 2Qและจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. แกนนำ อสม.ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวได้รับการตรวจซ้ำ เพื่อยืนยันการเจ็บป่วย กรณีที่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทำการส่งต่อให้พบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด
  3. แกนนำ อสม.รวบรวมผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรอง ลงในแบบสรุปผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดแยกกลุ่ม เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย และนำส่งเจ้าหน้าที่รพ.สต.ต่อไป

งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.ออกหน่วยรณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 90 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,400 บาท
- ค่าเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ในการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานแผ่นสตริปพร้อมเข็มเจาะยี่ห้อTERUMO รุ่น MEDISAFE EX ใช้ตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย จำนวน 30 กล่องๆละ 650 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55
2.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง  ส่งเสริมให้เกิดการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24900.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน และส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน และส่งต่อข้อมูลกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง เพื่อการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน โดยมีหัวหน้า รพ.สต.บ้านควน 1 ผู้รับผิดชอบงานหลักและแกนนำ อสม.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบตลอดจนร่วมกันหาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานให้มีคุณภาพต่อไปพร้อมทั้งนำเสนอจุดแข็ง และจุดอ่อนในการดำเนินงานมีการเสริมแรงจูงใจ สร้างขวัญและกำลังใจให้แกนนำในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพต่อไป
  2. จัดทำทะเบียนแยกกลุ่มที่ได้จากการคัดกรอง ดังต่อไปนี้กลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยงกลุ่มสงสัยป่วยพร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการดูแล ติดตามภาวะสุขภาพแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้มีรูปแบบที่ชัดเจน
  3. คืนข้อมูลประชาชนที่อยู่ในกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มสงสัยป่วย ให้ อสม.แต่ละหมู่บ้านทราบเพื่อให้ทราบถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบของตนเองพร้อมทั้งเฝ้าระวัง และติดตามภาวะสุขภาพในรายที่ต้องได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดแนวทางการพัฒนางานที่ดียิ่งขึ้นสามารถนำไปปรับเปลี่ยนปรับใช้ในการทำงานให้สอดคล้องกับบริบทต่อไป
2.มีทะเบียนกลุ่มกลุ่มปกติกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ที่ชัดเจน สามารถจัดกิจกรรมในแต่ละกลุ่มได้เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,900.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรมสถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีละครั้ง ทราบถึงภาวะสุขภาพตนเอง ได้รับการดูแลจัดการที่เหมาะสม และได้รับความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับเรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม สอดคล้องกับชีวิตประจำวันสามารถประเมินสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้ และจัดการตนเองได้ เมื่อพบความผิดปกติ
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูง มีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการเข้ารับบริการ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อติดตาม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีแกนนำ อสม.ในชุมชนคอยให้บริการ ในการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อโดยแกนนำ อสม.ให้พบเจ้าหน้าที่รพ.สต. เพื่อติดตามภาวะสุขภาพซ้ำ ในรายที่ต้องส่งพบแพทย์เพื่อยืนยันการเจ็บป่วยทำให้ได้รับการรักษา และติดตามภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ลดลง หรือ เกิดช้าลง
4. ประชาชนหมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>