กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็กกำแพงไร้พุง ปี 2
รหัสโครงการ 2568-L8010-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนกำแพงวิทยา
วันที่อนุมัติ 4 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 84,090.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจารี วุฒิมานพ
พี่เลี้ยงโครงการ โรงเรียนกำแพงวิทยา
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินโครงการเด็กกำแพงไร้พุง ผลปรากฏว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จำนวน 772 คน มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนทั้งหมดจำนวน 82 คน คิดเป็น 10.62 %ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น มีน้ำหนักเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุงคือ 79.01 กิโลกรัม และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ 30.31 และหลังเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุงคือ 78.18 กิโลกรัม และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ 29.24 ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงพบว่ามีนักเรียนที่ดำเนินกิจกรรมสำเร็จจำนวน 49 คน คิดเป็น 59.76 % และมีนักเรียนที่ดำเนินกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงไม่สำเร็จจำนวน 33 คน คิดเป็น 40.24 % โดยจากการถอดบทเรียนโครงการเด็กกำแพงไร้พุง พบว่า นักเรียนและผู้ปกครองยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ โรงเรียนยังไม่ได้มีการกำหนดกฎกติกาหรือข้อตกลงร่วมกับผู้ปกครองในเรื่องของการดูแลภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ของนักเรียน ขาดความหลากหลายในส่วนของกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 50 ขาดเเรงจูงใจในการทำกิจกรรม นักเรียนร้อยละ 100 มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงขาดการติดตามข้อมูลจากครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองอย่างจริงจัง ดังนั้น โรงเรียนกำแพงวิทยา จึงดําเนินโครงการเด็กกำแพงไร้พุง ปี 2 ขึ้น เพื่อเป็นการสานต่อให้แก่นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ได้สามารถดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัย เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหาร
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 70 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีค่าดัชนีมวลกายลดลง
  3. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
70.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
18 - 22 พ.ย. 67 ประเมินภาวะสุขภาพ 0 7,790.00 -
25 - 26 พ.ย. 67 ยกระดับผู้ปกครองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 0 39,000.00 -
27 - 29 พ.ย. 67 พัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำ 0 31,325.00 -
2 ธ.ค. 67 - 4 ก.พ. 68 หุ่นดีสร้างได้ 0 0.00 -
4 - 5 ก.พ. 68 ถอดบทเรียน 0 3,745.00 -
4 ก.พ. 68 - 14 มี.ค. 68 จัดทำรูปเล่มรายงานผล 0 1,000.00 -
5 ก.พ. 68 - 14 มี.ค. 68 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 1,230.00 -
รวม 0 84,090.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร ผักผลไม้ที่มีประโยชน์ และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
  3. นักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยามีภาวะสุขภาพที่เหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2567 14:05 น.