กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กกำแพงไร้พุง ปี 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนกำแพงวิทยา

นางสาวจารี วุฒิมานพ โทร.089-977-3794
นางจุฬัมพา หลงเก็ม โทร.062-087-0423 ผู้ประสานงานคนที่ 1
นายวรรณศักดิ์ สำเร โทร.061-021-8954 ผู้ประสานงานคนที่ 2
นางสาวสิรินทรา ตรีรัตน์ โทร.098-005-1455

โรงเรียนกำแพงวิทยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการดำเนินโครงการเด็กกำแพงไร้พุง ผลปรากฏว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จำนวน 772 คน มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนทั้งหมดจำนวน 82 คน คิดเป็น 10.62 %ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น มีน้ำหนักเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุงคือ 79.01 กิโลกรัม และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ 30.31 และหลังเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีน้ำหนักเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุงคือ 78.18 กิโลกรัม และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ 29.24 ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงพบว่ามีนักเรียนที่ดำเนินกิจกรรมสำเร็จจำนวน 49 คน คิดเป็น 59.76 % และมีนักเรียนที่ดำเนินกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงไม่สำเร็จจำนวน 33 คน คิดเป็น 40.24 %
โดยจากการถอดบทเรียนโครงการเด็กกำแพงไร้พุง พบว่า นักเรียนและผู้ปกครองยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ โรงเรียนยังไม่ได้มีการกำหนดกฎกติกาหรือข้อตกลงร่วมกับผู้ปกครองในเรื่องของการดูแลภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ของนักเรียน ขาดความหลากหลายในส่วนของกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุง นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 50 ขาดเเรงจูงใจในการทำกิจกรรม นักเรียนร้อยละ 100 มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุงขาดการติดตามข้อมูลจากครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองอย่างจริงจัง
ดังนั้น โรงเรียนกำแพงวิทยา จึงดําเนินโครงการเด็กกำแพงไร้พุง ปี 2 ขึ้น เพื่อเป็นการสานต่อให้แก่นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ได้สามารถดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีเหมาะสมกับวัย เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหาร
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น
  2. ร้อยละ 70 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีค่าดัชนีมวลกายลดลง
  3. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 36
นักเรียน 82
ผู้ปกครอง 82

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมคัดกรองประเมินภาวะสุขภาพกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเป้าหมายของโครงการเด็กกำแพงไร้พุง จำนวน 82 คน โดยดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดขนาดรอบเอว

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 และ 2 จำนวน 82 คน

ใช้งบประมาณ

งบประมาณ

  1. จัดทำสมุดคู่มือเด็กกำแพงวิทยาไร้พุง จำนวน 82 เล่ม เล่มละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 4,920.00 บาท

  2. วัดขนาดเส้นรอบเอว โดยใช้สายวัดรอบเอว จำนวน 82 เส้น เส้นละ 35 บาท รวมเป็นเงิน 2,870.00 บาท

เป็นเงิน 7,790 บาท

รายการทั้งหมดถัวเฉลี่ยจ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤศจิกายน 2567 ถึง 22 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบจำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7790.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม คัดเลือกนักเรียนแกนนำ จำนวน 20 คน

1.อบรม หลักสูตรพัฒนาแกนนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ จำนวน 20 คน โดยประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.1 กิจกรรมโยคะ จำนวน 5 คน

1.2 กิจกรรมแอโรบิค จำนวน 5 คน

1.3 กิจกรรมลูกกลิ้งบริหารหน้าท้อง จำนวน 5 คน

1.4 กิจกรรมวิ่ง จำนวน 5 คน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนแกนนำจำนวน 20 คน

  • คณะทำงาน 5 คน

งบประมาณ

  1. ค่าเสื่อโยคะ จำนวน 20 ผืน ผืนละ 250 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท

  2. ค่าลูกกลิ้งบริหารหน้าท้อง จำนวน 50 ชุด ชุดละ 300 บาทรวมเป็นเงิน 15,000 บาท

  3. ค่าฮูลาฮูปผู้ใหญ่ จำนวน 20 ชุด ชุดละ 130 บาท รวมเป็นเงิน 2,600 บาท

  4. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท คนละ 3 ชั่วโมง 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท

  5. ค่าอาหารว่างนักเรียนแกนนำและคณะทำงาน จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 25 คน รวมเป็นเงิน 1,750 บาท

  6. ค่าอาหารกลางวันนักเรียนแกนนำและคณะทำงาน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 25 คนรวมเป็นเงิน 1,875 บาท

  7. ค่าวัสดุในการอบรม เช่นปากกา สมุด กระเป๋า เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงิน 31,325 บาท

กำหนดการอบรม

08.00 - 08.30 ลงทะเบียน

08.30 - 08.40 ทำแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมการอบรม

08.40 - 10.00 บรรยายหัวข้อผลของการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เพื่อการควบคุมน้ำหนัก

10.00 - 10.30 พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 - 12.00 บรรยายหัวข้อวิธีการดำเนินการวิธีการใช้และการปฎิบัติอย่างถูกวิธี กิจกรรมโยคะ,กิจกรรมแอโรบิคในการเป็นผู้นำกิจกรรมที่ดี

12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 16.30 บรรยายและหัวข้อวิธีการดำเนินการ วิธีการใช้และการปฎิบัติอย่างถูกวิธีกิจกรรมลูกกลิ้งบริหารหน้าท้อง, กิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤศจิกายน 2567 ถึง 29 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสร้างนักเรียนแกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31325.00

กิจกรรมที่ 3 ยกระดับผู้ปกครองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ยกระดับผู้ปกครองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. หลักสูตรการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดุแลสุขภาพ โดยประสานงานเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลละงู และดำเนินการประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินกิจกรรม และจัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครอง และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1 การทำแบบทดสอบระหว่างการอบรม

1.2 กิจกรรมการออกแบบเมนูอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง

1.3 ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียนในการดูแลและควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 82 คน
  • ผู้ปกครอง จำนวน 82 คน
  • คณะทำงาน จำนวน 36 คน
  • รวม 200 คน

ใช้งบประมาณ

รายละเอียด

  1. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท คนละ 3 ชั่วโมง 2 คน เป็นเงิน 3,600 บาท

  2. ค่าอาหารว่างนักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะครู จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท จำนวน 200 คน รวมเป็นเงิน 14,000 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวัน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่และคณะครู จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 75 บาท จำนวน 200 คนรวมเป็นเงิน 15,000 บาท

  4. ค่าอุปกรณ์ประกอบการอบรม

    4.1 ปากกา จำนวน 200 ด้าม ด้ามละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

    4.2 กระดาษปรู๊ฟ จำนวน 20 แผ่น แผ่นละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 100 บาท

    4.3 ปากกาเมจิก จำนวน 20 ชุด ชุดละ 100 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

    4.4 เทปหนังไก่ จำนวน 1 โหล โหลละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 300 บาท

    4.5 ค่าไวนิลประกอบการอบรม ขนาด 2 X 5 เมตร รวมเป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงิน 39,000 บาท

รายการทั้งหมดถัวเฉลี่ยจ่าย

กำหนดการอบรม

08.00 - 08.30 ลงทะเบียน

08.30 - 10.00 บรรยายหัวข้อการใช้พลังงานของร่างกายในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันและออกกำลังกาย

10.00 - 10.30 พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 - 12.00 บรรยายหัวข้อผลของการออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ เพื่อการควบคุมน้ำหนัก

12.00 - 13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 14.30 บรรยายหัวข้อโภชนาการเพื่อการควบคุมน้ำหนัก

14.30 - 14.40 กิจกรรมการออกแบบเมนูอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของตนเอง

14.40 - 15.00 พักรับประทานอาหารว่าง

15.00 - 16.00 บรรยายหัวข้อการจัดการอารมณ์และความคิดระหว่างการควบคุมน้ำหนัก

16.00- 16.15 ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างครู ผู้ปกครองและนักเรียนในการดูแลและควบคุมน้ำหนักของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์

16.15 - 16.30 ทำแบบทดสอบระหว่างเข้าร่วมการอบรม และทำแบบประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤศจิกายน 2567 ถึง 26 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการร้านค้า และนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39000.00

กิจกรรมที่ 4 หุ่นดีสร้างได้

ชื่อกิจกรรม
หุ่นดีสร้างได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ควบคุมการบริโภคอาหารในแต่ละวันของนักเรียน โดยมีสมุดคุมการรับประทานอาหารมีลายเซ็นผู้ปกครองรับรองในแต่ละวันในการบริโภคอาหารที่บ้าน โดยใช้ความรู้หลังการอบรมมาเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง และถ่ายรูปมื้ออาหารในแต่ละวัน ส่งใน Line กลุ่มของครูที่ปรึกษา และครูที่ปรึกษารวบรวมส่ง

  2. ดูแลกิจกรรมออกกำลังกายในแต่วันของนักเรียนโดยก่อนกลับบ้านนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการต้องออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 5 วัน ต้องมีลายเซ็นคุณครูผู้ควบคุมในสมุดคุมกิจกรรมเด็กกำแพงไร้พุง ดำเนินการโดยนักเรียนแกนนำ

  3. นักเรียนแกนนำดำเนินการในแต่ละกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งประกอบด้วย

3.1 กิจกรรมโยคะ

3.2 กิจกรรมแอโรบิค

3.3 กิจกรรมลูกกลิ้งบริหารหน้าท้อง

3.4 กิจกรรมวิ่ง

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ 82 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วนสามารถออกกำลังกายตามกิจกรรมต่างๆที่ตนเองสนใจได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ควบคุมดูแล โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • กิจกรรมละลายพฤติกรรม

  • กิจกรรมระดมความคิด

  • กิจกรรมสรุปผลจากแผนผังความคิดโดยนำเสนอผลงาน

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ 82 คน

  • นักเรียนแกนนำ 20 คน

  • คณะทำงาน 5 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะทำงาน จำนวน 107 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน 3,745 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3745.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเด็กกำแพงไร้พุง ปี 2 ทุกๆ 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

  2. สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกข้อมูลเพื่อค้นหาเด็กกำแพงไร้พุง ปี 2 ที่สามารถลดน้ำหนักได้ตามเวลาที่กำหนด

  3. จัดจ้างทำเกียรติบัตรแก่นักเรียนเข้าร่วมการอบรม

  4. มอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

งบประมาณ

  • ค่าจ้างทำเกียรติบัตร จำนวน 82 แผ่น แผ่นละ 15 บาท รวมเป็นเงิน 1,230.00 บาท

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียนที่ภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ 82 คน
  • นักเรียนแกนนำ 20 คน
  • คณะทำงาน 36 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 14 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพ การออกกําลังกาย การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น
  2. นักเรียนและคณะครูที่เข้าร่วมอบรมได้รับเกียรติบัตร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1230.00

กิจกรรมที่ 7 จัดทำรูปเล่มรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
จัดทำรูปเล่มรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำรูปเล่มรายงานผล

งบประมาณ

  1. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 14 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,090.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร ผักผลไม้ที่มีประโยชน์ และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย
3. นักเรียนโรงเรียนกำแพงวิทยามีภาวะสุขภาพที่เหมาะสมตามวัย


>