กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3312-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทอง
วันที่อนุมัติ 14 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 45,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัลยา คงสุด
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราป่วยเพิ่มมากขึ้นและเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธ์ุที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้วการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านอาหารโดยรับประทานอาหารรสเค็มมันหวานขาดการออกกำลังกายมาีความเครียดสูงเรื้อรังดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวซึ่งร้อยละ50ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่2สามารถป้องกันได้เบาหวานประเภทที่2ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากแต่ในปัจจุบันจะพบมากขึ้นในคนอายุน้อยลงสำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดสมองโรคไตเรื้อรังตาบอดปลายประสาทเสื่อมเกิดแผลเรื้อรังเป็นสาเหตุของการตัดเท้าซึ่งนำมาซึ่งความพิการและเสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนหมอทองทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคฟื้นฟูสุขภาพและให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในปี2567จำนวนประชากรกลุ่มอายุ35ปีขึ้นไปในเเขตรับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด1,684คนได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน1,632รายคิดเป็นร้อยละ96.91ผลการคัดกรองพบเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน378รายคิดเป็นร้อยละ23.16กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน18รายคิดเป็นร้อยละ1.10และพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน4รายคิดเป็นร้อยละ0.25และกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด1,453รายได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน1,394รายคิดเป็นร้อยละ95.94พบกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง216รายคิดเป็นร้อยละ15.49กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง272รายคิดเป็นร้อยละ19.51และพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน11รายคิดเป็นร้อยละ0.79 หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตระหนักในการดูแลสุขภาพเข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพรวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมสามารถดูแลตนเองครอลครัวและชุมชนเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รวมทั้งเมื่อเกิดการเจ็บป่วยได้รับการดูแลตั้งแต่เริ่มแรกได้รับการค้นหาภาวะแทรกซ้อนจะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและชะลอความรุนแรงของโรคได้ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) จึงเป็นสิ่งสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายชาติคือ คนไทยห่างไกลกับโรค NCDs เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล โดยให้ผู้ป่วย ทำ Self-monitoring และบันทึกข้อมูลผ่าน Platform Analog และ Digital แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลจาก Platform และนำมา Counseling วางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Telemedicine พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชน35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ประชาชนอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

3000.00 2400.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรค

500.00 400.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันได้ดี

ผู้ป่วยเบาหวานคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ40และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันได้ดีร้อยละ60

700.00 350.00
4 ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากปีที่ผ่านมา

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ20

30.00 6.00
5 เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ชนิดที่ 2 เข้าสู่ระยะสงบ

ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู่ป่วยรายใหม่

3.00 2.00
6 เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

Hb1C < 6.5 % โดยไม่ใช่ยาเบาหวานมากกว่า 3 เดือน ( ติดตาม ครบ 1 ปี )

3.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกกรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อม 0 0.00 -
16 ม.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 กิจกรรมดำเนินงาน 0 22,550.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 การติดตามประเมินผล 0 22,500.00 -
รวม 0 45,050.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้ทราบถึงสถานะสุขภาพของตนเองและได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรค
2.ประชาชนชนกลุ่มเสี่ยงมีได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถลดอัตราการเกิดโรค ในผู้ป่วยรายใหม่
3.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
4.ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู่ป่วยรายใหม่
5.Hb1C < 6.5 % โดยไม่ใช่ยาเบาหวานมากกว่า 3 เดือน ( ติดตาม ครบ 1 ปี )

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2567 14:29 น.