โครงการ ปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหาเบาหัว
ชื่อโครงการ | โครงการ ปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหาเบาหัว |
รหัสโครงการ | 2568-L8010-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านปากปิง |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2568 |
งบประมาณ | 49,945.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางญาดา นุ้ยไฉน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 22 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 81 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80 - 90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป ไม่ให้เหาแพร่กระจายและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ
งานอนามัยโรงเรียนบ้านปากปิง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ความสะอาดของศีรษะ ผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ร่วมกับครูประจำชั้น ในนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จนถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 103 คน พบว่า มีทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ประมาณ 70 คน จากนักเรียนทั้งหมด 103 คน คิดเป็นร้อยละ 67.96 ที่ยังมีร่องรอยของการแพร่กระจายของเหาและไข่เหาอยู่ และมีแนวโน้มจะแพร่กระจายมากขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบในการเรียนของนักเรียนทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นโรงเรียนบ้านปากปิง ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ “ปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหาเบาหัว” เพื่อให้นักเรียนผู้ปกครองและคุณครู ได้รับความรู้เรื่องสุขอนามัยและสามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปราศจากเหา มีทักษะในการใช้ยากำจัดเหา ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้น โรงเรียนบ้านปากปิง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนบ้านปากปิง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูมีความรู้เกี่ยวกับเหา การดูแลและรักษาการเกิดเหา ร้อยละ 75 นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูมีความรู้เกี่ยวกับเหา การดูแลและรักษาการเกิดเหา |
67.96 | 75.00 |
2 | เพื่อป้องกันและลดอัตราการระบาดของเหาในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง ร้อยละ 75 ลดอัตราการระบาดของเหาในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง |
75.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 49,945.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมที่ 5 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ | 0 | 1,000.00 | - | ||
16 พ.ค. 68 - 30 ต.ค. 67 | กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 2,190.00 | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครู | 0 | 34,260.00 | - | ||
1 ส.ค. 68 - 12 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 หมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา | 0 | 12,495.00 | - | ||
1 - 26 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 เหาหาย เบาหัว | 0 | 0.00 | - |
- นักเรียนผู้ปกครองและคุณครูโรงเรียนบ้านปากปิงมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและรักษาการเกิดเหา
- ลดจำนวนอัตราการเกิดเหาในนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2567 11:13 น.