กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหาเบาหัว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปากปิง

1. นางญาดานุ้ยไฉน โทร 087-2874847 ผู้ประสานงานคนที่ 1
2. นางสาวจิราภรณ์แซ่ลิ่ม โทร 091-8316279 ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวณัฐธิชาศรีภูวดล โทร 087-2844882 ผู้ประสานงานคนที่ 3
4.นางสาวบุษยายีมะเร็บ
5. นางปอซอร์ จิ้วจวบ

โรงเรียนบ้านปากปิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80 - 90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป ไม่ให้เหาแพร่กระจายและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ
งานอนามัยโรงเรียนบ้านปากปิง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ความสะอาดของศีรษะ ผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ร่วมกับครูประจำชั้น ในนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จนถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 103 คน พบว่า มีทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ประมาณ 70 คน จากนักเรียนทั้งหมด 103 คน คิดเป็นร้อยละ 67.96 ที่ยังมีร่องรอยของการแพร่กระจายของเหาและไข่เหาอยู่ และมีแนวโน้มจะแพร่กระจายมากขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบในการเรียนของนักเรียนทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นโรงเรียนบ้านปากปิง ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ “ปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหาเบาหัว” เพื่อให้นักเรียนผู้ปกครองและคุณครู ได้รับความรู้เรื่องสุขอนามัยและสามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้ปราศจากเหา มีทักษะในการใช้ยากำจัดเหา ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้น โรงเรียนบ้านปากปิง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหานักเรียนในโรงเรียนบ้านปากปิง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูมีความรู้เกี่ยวกับเหา การดูแลและรักษาการเกิดเหา

ร้อยละ 75 นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูมีความรู้เกี่ยวกับเหา การดูแลและรักษาการเกิดเหา

67.96 75.00
2 เพื่อป้องกันและลดอัตราการระบาดของเหาในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง

ร้อยละ 75 ลดอัตราการระบาดของเหาในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง

75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 22
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 81
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 68

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 จัดทำป้ายนิเทศโครงการ

1.2 หานักเรียนแกนนำ

  • คัดเลือกแกนนำชั้น ป.1-6 ห้องละ 2 คนรวมจำนวน 12 คน

  • ให้แกนนำเป็นผู้ประสานงานในห้องเรียนร่วมกับครูประจำชั้น

งบประมาณ

  1. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการปากปิงวัยใส ส่งเสริมอนามัย กำจัดเหา เบาหัว ไวนิลขนาด 1.5x3 ราคาป้ายละ 675 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงินจำนวน 1,350 บาท

  2. โปสเตอร์ความรู้ การกำจัดเหาติดภายในห้องเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ราคาป้ายละ 60 บาท จำนวน 8 ป้าย เป็นเงินจำนวน 480 บาท

  3. แบบบันทึก 12 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงินจำนวน 360 บาท

กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน 2,190 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2190.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้ นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครูประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 68

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ “กิจกรรมเหาหาย สบายหัว” ให้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนบ้านปากปิง

เป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งหมด 103 คน

  • ครูและบุคลากรทางการศึกษา 13 คน

  • ผู้ปกครอง103 คน

กำหนดการอบรม

08.30-09.00 น. ลงทะเบียน

09.00-09.20 น. พิธีเปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมเหาหาย สบายหัว” โดยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากปิง

09.20-10.20 น. บรรยาย เรื่องเกี่ยวกับเหา ชนิดของเหา สาเหตุของการเกิดเหา

10.20-10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.40-11.40 น. บรรยายเรื่องเกี่ยวกับการป้องกัน วิธีดูแลรักษา

11.40-12.00 น. ประเมินความรู้

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น. บรรยายและสาธิตการผลิตสมุนไพรกำจัดเหา

14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-15.15 น. รับสมัครแกนนำผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 16 คน ห้องเรียนละ 2 คน

15.15- 15.45 น. ให้แกนนำผู้ปกครอง สำรวจนักเรียนที่เป็นเหาแล้วเก็บข้อมูลไว้สำหรับกิจกรรมที่ 3 หมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา

15.45-16.00 น. พิธีปิด

งบประมาณ

  1. ไวนิลขนาด 1.5x3 ราคาป้ายละ 675 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงินจำนวน 675 บาท

  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 219 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงินจำนวน 15,330 บาท

  3. ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง จำนวน 103 คน คนละ 1มื้อ มื้อละ 75 บาท เป็นเงินจำนวน 7,725 บาท

  4. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงินจำนวน 3,000 บาท

  5. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 219 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงินจำนวน 6,570 บาท

  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตผลิตแชมพูสมุนไพรกำจัดเหา

  • หัวแชมพูอีมอล 28กิโลกรัมละ 75 บาท จำนวน 6 กิโลกรัม เป็นเงินจำนวน 450 บาท

  • ผงฟอง (HH Sodium) กิโลกรัมละ 300 บาท จำนวน 1,000 กรัม เป็นเงินจำนวน 300 บาท

  • ผงข้น (Sodium) กิโลกรัมละ 30 บาท จำนวน 2 กิโลกรัม เป็นเงินจำนวน 60 บาท

  • กลิ่นหอมระเหย ซีซีละ 15 บาท จำนวน 10 ซีซี เป็นเงินจำนวน 150 บาท

กิจกรรมที่ 2 รวมเป็นเงิน 34,260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34260.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 หมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 หมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 หมั่นสาง หมั่นสระ ห่างเหา ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน 68

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 ประสานผู้ปกครอง ทำหนังสือแจ้งการเป็นเหา โดยขออนุญาตผู้ปกครองกำจัดเหานักเรียนและขอความร่วมมือผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมกำจัดเหาทั้งที่บ้านและโรงเรียน

3.2 ประชุมแกนนำส่งเริมสุขภาพในการจัดหากำจัดเหา และจัดเตรียมเวชภัณฑ์ยาและสมุนไพรกำจัดเหา

– นักเรียนแกนนำ 12 คน ผู้ปกครองแกนนำ 16 คน คุณครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านปากปิง 13 คน รวมทั้งหมด 41 คน

กำหนดการประชุมแกนนำ ก่อนวันกำจัดเหาครั้งที่ 1

13.00-13.30 น. ลงทะเบียนแกนนำ

13.30-15.00 น. วางแผนการดำเนินกิจกรรม กำจัดเหา หมั่นสาง หมั่นสระ

  • แบ่งกลุ่มนักเรียนแกนนำ ผู้ปกครองแกนนำ คุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ออกเป็น 8 กลุ่ม เพื่อเป็นคนดำเนินการสระกำกัดเหาให้กับนักเรียนที่เป็นเหา

    15.00-15.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    15.20-16.00 น. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการกำจัดเหานักเรียน

16.00 น.เสร็จการประชุมแกนนำ

เป้าหมาย

  1. นักเรียนแกนนำ จำนวน 12 คน

  2. ผู้ปกครองแกนนำ จำนวน 16 คน

  3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน

รวมทั้งหมด 41 คน

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 41 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงินจำนวน 1,435 บาท ค่ายาและอุปกรณ์กำจัดเหา
  • แชมพูกำจัดเหา ขนาด 50 มล. จำนวน 70 ขวด ราคาขวดละ 100 บาท เป็นเงินจำนวน 7,000 บาท (ใช้กำจัดเหาจำนวน 3 ครั้ง)

  • ถุงมืออนามัยกล่องละ 50 คู่ ราคา 250 บาท จำนวน 3 กล่อง เป็นเงินจำนวน 750 บาท

  • หวีสางเหา ราคาอันละ 20 บ. จำนวน 41 อัน เป็นเงินจำนวน 820 บาท

  • ผ้าขนหนู ราคาผืนละ 20 บ. จำนวน 70 ผืน เป็นเงินจำนวน 1,400 บาท

  • หมวกคลุมผมแบบใยสังเคราะห์ กล่องละ 50 ใบ จำนวน 3 กล่อง กล่องละ 150 บาท เป็นเงินจำนวน450 บาท

  • ถังน้ำพสลาสติก 8 ใบขนาด 12 ลิตร ใบละ 60 บาท เป็นเงินจำนวน 480 บาท

  • ขันน้ำพลาสติก 8 ใบ ใบละ 20 บาท เป็นเงินจำนวน 160 บาท

รวมเป็นเงิน 12,495.00 บาท

3.3ดำเนินการ กำจัดเหา หมั่นสาง หมั่นสระหางเหา ครั้งที่ 1 ประมาณเดือนสิงหาคม

เป้าหมาย

  1. นักเรียนแกนนำ จำนวน 12 คน

  2. ผู้ปกครองแกนนำ จำนวน 16 คน

  3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน

  4. นักเรียนที่เป็นเหา 70 คน รวมทั้งหมด 111 คน

3.4ดำเนินการ กำจัดเหา หมั่นสาง หมั่นสระหางเหา ครั้งที่ 2 ประมาณกลางเดือนสิงหาคม

เป้าหมาย

  1. นักเรียนแกนนำ จำนวน 12 คน

  2. ผู้ปกครองแกนนำ จำนวน 16 คน

  3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน

  4. นักเรียนที่เป็นเหา 70 คนรวมทั้งหมด 111 คน

ไม่ใชงบประมาณ

3.5ดำเนินการ กำจัดเหา หมั่นสาง หมั่นสระหางเหา ครั้งที่ 3 ประมาณเดือนกันยายน
เป้าหมาย

  1. นักเรียนแกนนำ จำนวน 12 คน

  2. ผู้ปกครองแกนนำ จำนวน 16 คน

  3. ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน

  4. นักเรียนที่ยังคงเป็นเหาอยู่อีกหลังจากดำเนินการกำจัดไปแล้ว 2 ครั้ง

ไม่ใช้งบประมาณ

3.6 กำกับติดตามการดำเนินงานและกำจัดเหา ค้นหารายใหม่และรายเก่าที่ยังเป็นอยู่

เป้าหมาย

นักเรียนที่ยังคงเป็นเหาอยู่อีกหลังจากดำเนินการกำจัดไปแล้ว 3 ครั้ง

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 12 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12495.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 เหาหาย เบาหัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 เหาหาย เบาหัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4 เหาหาย เบาหัว ประมาณเดือนกันยายน 68

รายละเอียดกิจกรรม

4.1 มอบเวชภัณฑ์ยา สมุนไพรกำจัดเหา ไปใช้ต่อที่บ้าน (สำหรับนักเรียนที่ยังเป็นเหาอยู่)

4.2 ติดตาม สรุปผลอัตราการลดลงของจำนวนักเรียนที่ปลอดเหา

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,945.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนผู้ปกครองและคุณครูโรงเรียนบ้านปากปิงมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและรักษาการเกิดเหา
2. ลดจำนวนอัตราการเกิดเหาในนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิง


>