กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 68-L1482-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม. รพ.สต.ทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 39,025.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา หูเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว เนื่องจากมีการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพบมากในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม – ตุลาคมของทุกปีซึ่งสาเหตุการเกิดโรคที่สำคัญ เกิดจากพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ครอบครัวและชุมชน ในการเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออกมาสู่คน หรือการทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำกินน้ำใช้ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง การที่จะควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อ ไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่จำเป็นต้องมีการควบคุมป้องกันทั้งระยะก่อนเกิดโรคและระยะเกิดโรคในทุกหมู่บ้านเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนในการที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายและมีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ดังนั้น ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ“โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” ขึ้นเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆในชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคพร้อมกันทุกครัวเรือนและกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

1.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20 ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10

1.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประชาชนในเขตรับผิดชอบลดลงจากปีก่อน

1.00
4 เพื่อประกาศเกียรติคุณหมู่บ้าน/ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย เชิดชูเกียรติให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและส่งเสริมสุขภาพ

เกิดหมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,025.00 0 0.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน 0 17,900.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 16,125.00 -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 3 กิจกรรมสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดเมื่อเกิดโรค 0 5,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  2. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
  3. ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2567 00:00 น.