กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

ชมรมอสม. รพ.สต.ทุ่งยาว

นางสาวสุพัตราหูเขียว
นางรัตตินันท์รองยาง

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว เนื่องจากมีการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยพบมากในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม – ตุลาคมของทุกปีซึ่งสาเหตุการเกิดโรคที่สำคัญ เกิดจากพฤติกรรมการป้องกันตนเอง ครอบครัวและชุมชน ในการเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไข้เลือดออกมาสู่คน หรือการทำความสะอาดภาชนะเก็บน้ำกินน้ำใช้ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง การที่จะควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อ ไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่จำเป็นต้องมีการควบคุมป้องกันทั้งระยะก่อนเกิดโรคและระยะเกิดโรคในทุกหมู่บ้านเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนในการที่จะทำให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายและมีอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
ดังนั้น ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ“โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” ขึ้นเพื่อย้ำเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆในชุมชน ช่วยกันป้องกันโรคพร้อมกันทุกครัวเรือนและกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน

ร้อยละ 80 ของประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

1.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20 ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10

1.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประชาชนในเขตรับผิดชอบลดลงจากปีก่อน

1.00
4 เพื่อประกาศเกียรติคุณหมู่บ้าน/ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย เชิดชูเกียรติให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและส่งเสริมสุขภาพ

เกิดหมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำดื่ม จำนวน 300 ขวด ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 2 ถัง ถังละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าแผ่นป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าจ้างเหมารถแห่ประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออก  4,500 บาท
  • ค่าจ้างเหมาทำสปอตประชาสัมพันธ์เรื่องโรคไข้เลือดออก  3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กรรมการและประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมการดำเนินงานการประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 40 คนๆละ  35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,800 บาท
  • ค่าจัดทำป้ายประกาศนียบัตรแบบแขวน จำนวน 4 ชิ้นๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่ารางวัลการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย รางวัลที่ 1 จำนวน 3,000 บาท  รางวัลที่ 2 จำนวน 2,000  บาท รางวัลที่ 3 จำนวน 1,000 บาท และรางวัลชมเชย 500 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าตอบแทนกรรมการตรวจประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 10 คน ๆละ 250 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าน้ำดื่ม กิจกรรมออกตรวจประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 50 ขวด ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • ค่าแผ่นป้ายไวนิล ขนาด 1 เมตร x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 375 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16125.00

กิจกรรมที่ 3 3 กิจกรรมสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดเมื่อเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
3 กิจกรรมสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดเมื่อเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 300 ซอง ๆละ 5 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าสเปรย์กำจัดยุง  จำนวน 50 กระป๋องๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,025.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
3. ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก


>