โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ |
รหัสโครงการ | L5181-68-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด เทศบาลตำบลนาทับ |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 กรกฎาคม 2568 |
งบประมาณ | 57,710.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุไหลหมาน โหดเส็น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ขาดความรู้ความเข้าใจสิ่งปนเปื้อนในอาหาร และสุขลักษณะของผู้ปรุง | 25.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน มาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าวการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยรวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุงการประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือนอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัย ไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือคุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อนการบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้นจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชนสะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่างๆมากมายดังนั้นการควบคุมดูแลให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสมเน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคจึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนทางเทศบาลตำบลนาทับ จึงมีแผนที่จะให้มีโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนพื้นที่ตำบลนาทับ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และการจัดการอาหารปลอดภัยในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความปลอดภัยด้านอาหาร ในสถานที่จำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามเกณฑ์มาตราฐาน 20 ข้อ |
25.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 57,260.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 15 มี.ค. 68 | ประชุมคณะทำงาน ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผน และวิธีการดำเนินโครงการ | 0 | 300.00 | - | ||
17 - 31 มี.ค. 68 | ตรวจร้านขายของชำ/สถานที่จำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านยา พร้อมสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการ | 0 | 300.00 | - | ||
1 - 18 เม.ย. 68 | ประชุมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/สถานที่จำหน่ายอาหาร | 0 | 12,750.00 | - | ||
1 - 30 เม.ย. 68 | ตรวจประเมินร้านชำ/สถานที่จำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านยา | 0 | 41,860.00 | - | ||
14 - 18 เม.ย. 68 | ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 300.00 | - | ||
21 เม.ย. 68 - 9 พ.ค. 68 | เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้มอบเกียรติบัตร | 0 | 1,750.00 | - |
- ร้อยละ 80 ของร้านชำ ผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว
- ร้อยละ 80 แผงลอยจำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
- สถานที่จำหน่ายอาหารได้รับการตรวจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2567 00:00 น.