โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสสารเคมี ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสสารเคมี ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-50105-02-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุไร สงนุ้ย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 90 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนของประชาชน (คน) ที่มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และประชาชนส่วนใหญ่การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รับประทานแกงถุงผักผลไม้ โดยไม่ล้างให้สะอาดเพียงพอ การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน ยังมีการสัมผัสสารเคมีโดยไม่รู้ตัว เช่นการล้างห้องน้ำโดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำและขณะล้างห้องน้ำไม่ป้องกันตนเอง เช่นสวมถุงมือ สวมหน้ากากอนามัย และการใช้น้ำยาย้อมผม ก็ยังเป็นช่องทางหนึ่งจากการสัมผัสสารเคมี ดังนั้นทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นซึ่งประชาชน ในหมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง ส่วนใหญ่ยังมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีและจากข้อมูลการเข้าร่วมโครงการของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี ในปี 2567 พบว่าปริมาณของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการในการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 90 คน พบว่า ปลอดภัย จำนวน 69 คน มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ไม่ปลอดภัย จำนวน 3 คน และมีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ระดับเสี่ยง จำนวน 18 คน จากการเจาะเลือดหาสารเคมีครั้งที่ 1 และได้นำกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ปลอดภัยและระดับเสี่ยง ทำการเจาะเลือดหาสารเคมีครั้งที่ 2 เว้นระยะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มา 1 เดือน พบว่า มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ปลอดภัย จำนวน 10 คน ( ปลอดภัยเพิ่มขึ้น 47.62 % ) มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ไม่ปลอดภัย จำนวน 1 คน ( ยังมีภาวะเสี่ยง อีก 4.76 % ) มีระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด เสี่ยง จำนวน 10 คน ( ยังมีภาวะเสี่ยง อีก47.62 % ) ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า ประชาชนในหมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง ยังคงมีการสัมผัสสารเคมีอยู่เป็นจำนวนมาก ประชาชนยังขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการป้องการตนเองจากการสัมผัสสารเคมี ซึ่งทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นชมรมอสม.รพ.สต.บ้านหัวถนน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของประชาชน ในหมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสสารเคมี ปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดปัญหาของประชาชน ที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดในระดับอันตราย จำนวนของประชาชน ที่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย ลดลง ร้อยละ 50 |
50.00 | 5.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,900.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | คัดกรอง เฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้างในเลือดและการให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง | 0 | 19,400.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | ส่งเสริมการปลูกผักกินเองในครัวเรือน | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่ 2 เฉพาะที่ผลการเจาะครั้งที่ 1 พบว่ามีความเสี่ยง หรือไม่ปลอดภัย | 0 | 4,500.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | ติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ในการกินผักที่ปลูกไว้กินเอง | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | จ่ายยารางจืดลดสารเคมีในเลือด แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่เจาะเลือดหารสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 2 แล้วยังมีผลไม่ปลอดภัยหรือผลการตรวจยังมีความเสี่ยง | 0 | 0.00 | - |
- ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีที่ตกค้างในเลือดของประชาชน
- เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการสัมผัสสารเคมีของประชาชน
- ประชาชนมีความรู่ในการป้องกันการสัมผัสสารเคมี มีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2567 15:57 น.