กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2568
รหัสโครงการ L3363-2568-1006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 5,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ์ ทวีโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางกฤติยา พุทธานุวัติกุล
พื้นที่ดำเนินการ รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล หรือสถานการณ์ปัญหา ภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายสูง และไปทำลายหลอดเลือดฝอยในเนื้อไต ปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตลดลงทำให้อัตราการกรองของไตลดลง และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต มีค่าใช้จ่ายสูงมากและมีผลกระทบต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโดยรวม ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมขนและหมู่บ้านทั่วประเทศ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไตเสื่อม ได้แก่ ระดับน้ำตาลที่ควบคุมไม่ได้ ความดันโลหิตสูง ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การใช้ยาไม่ถูกต้อง การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย การจะช่วยชะลอไตเสื่อมได้ ต้องมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คัดกรองและให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การป้องกันและการรักษา ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองรวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวานได้ นำไปสู่ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น ลดการบำบัดทดแทนไต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)จึงได้จัดการทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแล สุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือด

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะไตเสื่่อม

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานยาและมาตามนัดอย่างเคร่งครัด

 

0.00
4 ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่น ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตเสื่อมระยะสุดท้าย

 

0.00
5 สนับสนุนให้มีระบบการติดตามและให้คำปรึกษาเชิงรุกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว(28 ก.พ. 2568-28 ก.พ. 2568) 5,050.00                  
2 ติดตามและประเมินผลสุขภาพ(28 ก.พ. 2568-30 ก.ย. 2568) 0.00                  
รวม 5,050.00
1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 5,050.00 0 0.00
28 ก.พ. 68 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว 50 5,050.00 -
2 ติดตามและประเมินผลสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 0.00 0 0.00
28 ก.พ. 68 - 30 ก.ย. 68 ติดตามและประเมินผลสุขภาพ 50 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเสื่อมของไต ค่า eGFR ในผู้ป่วยเบาหวาน
  2. อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) และความดันโลหิตตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
  3. ลดระดับไขมันในเลือดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
  4. ผู้ป่วยเครือข่ายสนับสนุนในการดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 08:52 น.