กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

1. นางสาววสี หวานแก้ว นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
2. นางกฤติยา พุทธานุวิตกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ม.1,3,5,6,8,9,11 9 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1. หลักการและเหตุผล หรือสถานการณ์ปัญหา
ภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายสูง และไปทำลายหลอดเลือดฝอยในเนื้อไต ปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตลดลงทำให้อัตราการกรองของไตลดลง และเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต ซึ่งได้แก่ การล้างไตทางช่องท้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการปลูกถ่ายไต มีค่าใช้จ่ายสูงมากและมีผลกระทบต่อคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโดยรวม ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังกระจายอยู่ในชุมขนและหมู่บ้านทั่วประเทศ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไตเสื่อม ได้แก่ ระดับน้ำตาลที่ควบคุมไม่ได้ ความดันโลหิตสูง ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวานการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การใช้ยาไม่ถูกต้อง การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย การจะช่วยชะลอไตเสื่อมได้ ต้องมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ระยะเริ่มแรก คัดกรองและให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การป้องกันและการรักษา ส่งเสริมให้ผู้ป่วยและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองรวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวานได้ นำไปสู่ผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีขึ้น ลดการบำบัดทดแทนไต ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัวต่อไป
ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)จึงได้จัดการทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแล สุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือด

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะไตเสื่่อม

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานยาและมาตามนัดอย่างเคร่งครัด

 

0.00
4 ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่น ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตเสื่อมระยะสุดท้าย

 

0.00
5 สนับสนุนให้มีระบบการติดตามและให้คำปรึกษาเชิงรุกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว จำนวน 3 รายการ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท 2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 3. ค่าจ้างทำเอกสาร จำนวน 50 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 5,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบ รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ในหมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9 และ 11 จำนวน 50 คน

ผลลัพท์
1. กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะไตเสื่อม
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือด
3. กลุ่มเป้าหมายสามารถลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต เช่น ไตวายเรื้อรัง และภาวะไตเสื่อมระยะสุดท้าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5050.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผลสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การติดตามและประเมินผลสุขภาพ - ผู้ป่วยเบาหวานมีอัตราการเสื่อมของไตค่า e GFR (การทำงานของไต) >60 ml/min ร้อยละ 80 - อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) และความดันโลหิตตามเกณฑ์ ร้อยละ 80

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการได้รับการติดตามและประเมินผลสุขภาพ จำนวน 50 คน

ผลลัพธ์
1. ลดอัตราการเสื่อมของไต ค่า eGFR ในผู้ป่วยเบาหวาน
2. อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) และความดันโลหิตตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
3. ลดระดับไขมันในเลือดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
4. ผู้ป่วยเครือข่ายสนับสนุนในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเสื่อมของไต ค่า eGFR ในผู้ป่วยเบาหวาน
2. อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1c) และความดันโลหิตตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
3. ลดระดับไขมันในเลือดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรค
4. ผู้ป่วยเครือข่ายสนับสนุนในการดูแลสุขภาพ


>