โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5307-2-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน |
วันที่อนุมัติ | 28 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฝาตีมะ มะอะนี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 14 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 23 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน | 37.00 | ||
2 | จำนวนประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน | 14.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสีย ทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความพิการ เป็นผู้ป่วยติดเตียง นอกจากนี้ยังมีภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษา ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และครอบครัวสำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคคือ กรรมพันธุ์และพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันจากผลการวิจัยหลายเรื่องชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการส่งเสริมความรู้และได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบ มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป จากผลการคัดกรองสุขภาพประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ 2567 พบประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 14 คน โรคเบาหวาน จำนวน 6 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน รวมมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน จำนวน 23 คน และกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8 คน โรคเบาหวาน จำนวน 5 คน เป็นกลุ่มสงสัยป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 1 คน รวมมีกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน จำนวน 14 คน กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของตนเองเพื่อให้รู้เท่าทันภาวะสุขภาพได้รับการติดตาม เฝ้าระวังและควรได้รับการส่งเสริมความรู้ในเรื่องของโรคเรื้อรังที่ต้องเฝ้าระวังการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันและความเชื่อต่างๆที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพ เมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดีส่งผลให้อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดลงและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน ปี 2568 ขึ้นเพื่อเน้นการส่งเสริมความรู้ติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสร้างความตระหนักและส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งผลให้ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควนมีสุขภาพที่ดีและลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสม ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งเสริมความรู้ที่เหมาะสม ร้อยละ 100 |
52.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ ประชาชน กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ ร้อยละ 100 |
45.00 | 100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ | 0 | 390.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 พ.ค. 68 | ส่งเสริมความรู้ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง | 0 | 3,690.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 ส.ค. 68 | ประชุมสรุปผลการติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของแกนนำ อสม. ครั้งที่ 2 | 0 | 1,890.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ประชุมสรุปผลการติดตามภาวะสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของแกนนำ อสม. ครั้งที่ 1 | 0 | 3,080.00 | - | ||
รวม | 0 | 9,050.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ การส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเมื่อรู้เท่าทันสุขภาพตนเอง สามารถเฝ้าระวัง และส่งเสริมสุขภาพตนเองได้เหมาะสม สอดคล้องตามบริบทในชีวิตประจำวัน
2.เมื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ และได้รับการติดตามสุขภาพมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมส่งผลให้มีผู้ป่วยรายใหม่ลดลง
3.เมื่อประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ในเรื่องของโรคการเฝ้าระวังและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีส่งผลให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอยให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคได้
4.ประชาชนเกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวัง และติดตามสุขภาพของตนเอง อย่างต่อเนื่องเพื่อให้รู้เท่าทันสุขภาพของตนเองสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้เหมาะสมได้รับการดูแลรักษา
ทันท่วงทีเมื่อมีการเจ็บป่วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 00:00 น.