เฝ้าระวังและคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนของโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า
ชื่อโครงการ | เฝ้าระวังและคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนของโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า |
รหัสโครงการ | 68-L5188-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 พฤษภาคม 2568 |
งบประมาณ | 35,201.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนฤมล ตันติสุขุมาล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนใน ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 429 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้า ป.1-ป.6 ยังไม่ได้รับการคัดกรอง | 100.00 | ||
2 | เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้า ป.1-ป.6 ไ้ด้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่ง ทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีทนิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า ตระหนักถึงความสำคัญการคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ ที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและหามาตรการเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนตั่งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เด็กนักเรียนตำบลเกาะสะบ้า มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจางพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และรับรู้ถึงสถานการณ์ภาวะซีดในเด็กนักเรียนตำบลเกาะสะบ้า ร้อยละ 100 |
100.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้เด็กนักเรียนที่พบปัญหาได้รับการรักษา 100 |
30.00 | 100.00 |
3 | เพื่อให้เด็กนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 100 |
50.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 35,201.00 | 0 | 0.00 | 35,201.00 | |
1 - 31 ธ.ค. 67 | ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ป.6 ทุกโรงเรียน | 0 | 21,951.00 | - | - | ||
1 - 31 ธ.ค. 67 | แจ้งผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดแก่ทางโรงเรียนเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 31 ธ.ค. 67 | จัดประชุมคณะครูอาจารย์เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลเด็ก | 0 | 300.00 | - | - | ||
1 ธ.ค. 67 - 30 เม.ย. 68 | ส่งเสริมการบริโภคยาเสริมธาตุเหล็กในโรงเรียนแก่เด็กนักเรียนทุกคน | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 ธ.ค. 67 - 31 มี.ค. 68 | ให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่นักเรียนที่มีค่าความเข้มข้นของเลือด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 31 ธ.ค. 67 | ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบปัญหา | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 31 ม.ค. 68 | จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่เสี่ยงและพบภาวะซีดเพื่อการดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี | 0 | 3,950.00 | - | - | ||
1 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 | ติดตามผลความเข้มข้นของเลือดในเด็กที่มีภาวะซีดเดือนละ 1 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข | 0 | 9,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 35,201.00 | 0 | 0.00 | 35,201.00 |
- เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้าได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับการแก้ปัญหาในรายที่พบภาวะซีด พร้อมส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 11:23 น.