กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังและคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนของโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า

โรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า จำนวน 5 โรงเรียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้า ป.1-ป.6 ยังไม่ได้รับการคัดกรอง

 

100.00
2 เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้า ป.1-ป.6 ไ้ด้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก

 

50.00

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่ง ทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วยจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีทนิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า ตระหนักถึงความสำคัญการคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ ที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและหามาตรการเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนตั่งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เด็กนักเรียนตำบลเกาะสะบ้า มีสุขภาพดีปราศจากภาวะโลหิตจางพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองภาวะซีด และรับรู้ถึงสถานการณ์ภาวะซีดในเด็กนักเรียนตำบลเกาะสะบ้า

ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่พบปัญหาได้รับการรักษา

100

30.00 100.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ปกติได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

100

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 429
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ป.6 ทุกโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ป.6 ทุกโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนในโรงเรียน ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ป.6 จำนวน 429 คน ประกอบด้วย -โรงเรียนวัดนิคมประสาทมิตรภาพที่ 149 จำนวน164 คน -โรงเรียนบ้านบ่อน้ำส้ม จำนวน 60 คน -โรงเรียนบ้านโคกพยอม จำนวน 29 คน -โรงเรียนบ้านพรุตูจำนวน63 คน -โรงเรียนบ้านกรงอิตำจำนวน 113 คน

งบประมาณ 1.1 ค่าป้ายไวนิลโครงการเฝ้าระวังและคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียนของโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 แผ่นๆละ 576 บาท เป็นเงิน 576 บาท 1.2 ค่าแผ่นตรวจ Hemocue Hb 801 กล่องละ 50 ชิ้น จำนวน 10 กล่องๆละ 1,850 บาท เป็นเงิน 18,500 บาท
1.3 ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว กล่องละ 100 ชิ้นจำนวน 5 กล่อง ๆละ 450 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท 1.4 ค่าสำลีชุบแอลกอฮอล์ จำนวน 5 กล่องๆละ 96 บาท เป็นเงิน 480 บาท 1.5 ค่าสำลีก้อนบริสุทธิ์ 0.35 กรัมถุงละ 450 กรัม จำนวน 1 ถุง เป็นเงิน 145 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้าได้รับการคัดกรองภาวะซีด จำนวน 429 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21951.00

กิจกรรมที่ 2 แจ้งผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดแก่ทางโรงเรียนเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
แจ้งผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดแก่ทางโรงเรียนเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรปุผลการคัดกรองภาวะซีดในเด็กนักเรียน และแจ้งผลการตรวจความเข้มข้นของเลือด แก่ทางโรงเรียน เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

งบประมาณ ไม่มีงบประมาณในกิจกรรมนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้ารับทราบผลการคัดกรองและสถานการณ์ภาวะซีดในเด็กนักเรียน  จำนวน 5 โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะครูอาจารย์เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะครูอาจารย์เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะครูอาจารย์ทุกโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้า เพื่อให้ความรู้และแนวทางการดูแลเด็กที่อยู่ในเกณฑ์ปกติและเด็กที่มีปัญหาภาวะซีดจำนวน 12 คน ประกอบด้วย -เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 2 คน -โรงเรียนวัดนิคมประสาทมิตรภาพที่ 149 จำนวน2 คน -โรงเรียนบ้านบ่อน้ำส้ม จำนวน 2 คน -โรงเรียนบ้านโคกพยอม จำนวน 2 คน -โรงเรียนบ้านพรุตูจำนวน2 คน -โรงเรียนบ้านกรงอิตำจำนวน 2 คน

งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท x 12 คนเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครูอาจารย์ทุกโรงเรียนในตำบลเกาะสะบ้ารับทราบแนวทางการดูแลเด็กที่มีปัญหาภ่าวะซีด จำนวน 5 โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการบริโภคยาเสริมธาตุเหล็กในโรงเรียนแก่เด็กนักเรียนทุกคน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการบริโภคยาเสริมธาตุเหล็กในโรงเรียนแก่เด็กนักเรียนทุกคน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก Ferrous fumarate 200 mg. ให้เด็กนักเรียนรับประทานทุกวันจันทร์หลังอาหารเที่ยง แก่เด็กนักเรียนชั้น ป.1-ป.6
2.เด็กนักเรียนที่ขาดเรียนในวันนั้นให้รับประทานในวันถัดไปที่มาเรียน 3.เก็บยาไว้ที่ครูประจำชั้นและแจกจ่ายให้รับประทานทีละคนพร้อมลงบันทึกในทะเบียนการได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 4.จัดยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กให้เด็กไปรับประทานต่อเนื่องที่บ้านในช่วงที่มีการปิดเทอม พร้อมให้ผู้ปกครองลงบันทึกการได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
งบประมาณ ไม่มีงบประมาณในกิจกรรมนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด๋็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้าป.1-ป.6 ทุกคนได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก จำนวน 429 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่นักเรียนที่มีค่าความเข้มข้นของเลือด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

ชื่อกิจกรรม
ให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่นักเรียนที่มีค่าความเข้มข้นของเลือด ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแก่นักเรียนที่มีค่าความเข้มข้นเลือด ต่ำกว่าเกณฑ์ (แต่ไม่น้อยกว่า 7.0 g/dL) ที่กำหนดรับประทานทุกวันๆละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 1 เดือนหรือจนกว่าความเข้มข้นของเลือดจะปกติ พร้อมลงบันทึกการได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กในสมุดประจำตัวโดยครูประจำชั้น 2.จัดยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กให้เด็กไปรับประทานต่อเนื่องที่บ้านในช่วงวันหยุด และช่วงที่มีการปิดเทอม พร้อมให้ผู้ปกครองลงบันทึกการได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก

งบประมาณ ไม่มีงบประมาณในกิจกรรมนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและรับประทานตามแผนการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่เสี่ยงและพบภาวะซีดเพื่อการดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่เสี่ยงและพบภาวะซีดเพื่อการดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุม ให้ความรู้ผู้ปกครองและนักเรียนที่เสี่ยงและพบภาวะซีดเพื่อการดูแลและส่งเสริมที่ถูกวิธี จำนวน 50 คน

งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท x 50 คน    เป็นเงิน 1,250 บาท 2. ค่าวิทยากรให้ความรู้เรื่องภาวะซีดและการส่งเสริมโภชนาการเพื่อแก้ไขภาวะซีด จำนวน 1 คน x 2 ชม.ๆละ 600 บาท    เป็นเงิน 1,200 บาท 3. ค่าเอกสารประกอบอาการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 30 บาท    เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองนักเรียนที่เสี่ยงและพบภาวะซีดได้รับการอบรม จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3950.00

กิจกรรมที่ 7 ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบปัญหา

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ส่งต่อพบแพทย์โรงพยาบาลเทพาในรายที่พบภาวะซีดมีค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7.0 g/dL เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

งบประมาณ ไม่มีงบประมาณในกิจกรรมนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดมีค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7.0 g/dL ได้รับการส่งต่อพบแพทย์ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ติดตามผลความเข้มข้นของเลือดในเด็กที่มีภาวะซีดเดือนละ 1 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลความเข้มข้นของเลือดในเด็กที่มีภาวะซีดเดือนละ 1 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามผลความเข้มข้นของเลือดในเด็กที่มีปัญหาภาวะซีดเดือนละ 1 ครั้งโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.จัดอาหารเสริมน้ำผลไม้แบบกล่องสำหรับเด็กยังมีค่าความเข้มข้นของเลือดต่ำกว่าเกณฑ์รับประทานพร้อมยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กหลังรับประทานอาหารเที่ยงของทุกวัน

งบประมาณ 1.ค่าน้ำผลไม้แบบกล่องๆละ 10 บาท x 30 กล่อง x 30 คน         เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามผลความเข้มข้นของเลือดทุก 1 เดือน ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,201.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กนักเรียนในตำบลเกาะสะบ้าได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับการแก้ปัญหาในรายที่พบภาวะซีด พร้อมส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง


>