กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมารดาสุขภาพดีเด็กชีวีสดใส ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L8008-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 58,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลาตีปะ แก้วดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 31 ส.ค. 2568 58,650.00
รวมงบประมาณ 58,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
87.50
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
87.18
3 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
92.50
4 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
61.11
5 ร้อยละความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-5 ปี
89.58
6 เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน
63.00
7 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน
41.04
8 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักน้อย
10.65
9 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์
6.48
10 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยครั้งแรก
73.50
11 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าต้องได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน
14.53
12 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
87.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นสุขนิสัย ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการ บุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณได้ เริ่มจากการเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคม การดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน12สัปดาห์ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่ เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอพร้อมสร้างความรักความอบอุ่นและพัฒนาสมองของลูก ตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตพัฒนาการสมวัยและเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ต.พิมาน ปีงบประมาณ 2567 พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์ 40 ราย ร้อยละ 87.5 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด5ครั้งตามเกณฑ์ 40 ราย ร้อยละ 87.5 มารดาและทารกทั้งหมด 39 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด3ครั้ง 34 ราย ร้อยละ 87.18 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนธาตุเหล็กและกรดโฟลิกร้อยละ 92.5 เด็กแรกเกิดถึง6เดือนกินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 61.11 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-5 ปี ร้อยละ 89.58 เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการตรวจสุขภาพฟันร้อยละ 63เด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วนร้อยละ 41.04 มีน้ำหนักน้อยร้อยละ 10.65 น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ร้อยละ 6.48 พัฒนาการสมวัยครั้งแรกร้อยละ 73.5 และพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าต้องได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วันร้อยละ 14.53 ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าสถิติผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ2567 ผ่านเกณฑ์ แต่บางตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็กยังไม่ผ่านเกณฑ์ จึงควรมีการทบทวนการดำเนินงานและเพิ่มพัฒนาทักษะความรู้ การสาธิตและการนำไปปฏิบัติในชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและแก่ประชาชนในชุมชน จึงนำมาซึ่งการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองได้

หลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองมากกว่าร้อยละ 80 วัดผลโดยใช้แบบประเมิน

48.00 0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์และการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์และการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

30.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์

เด็กได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90

135.00 0.00
4 เด็กแรกเกิด-6เดือนกินนมแม่อย่างเดียว

เด็กแรกเกิด-6เดือนกินนมแม่อย่างเดียว มากกว่าร้อยละ50

23.00 0.00
5 การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก0-5ปีและการติดตามพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน30วัน

เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการมากกว่าร้อยละ95 และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการภายใน30วัน ร้อยละ10

21.00 0.00
6 เด็ก0-5ปีสูงดีสมส่วน

เด็ก0-5 ปี สูงดี สมส่วน ร้อยละ60

140.00 0.00
7 เด็ก0-5ปีได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุร้อยละ80

48.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 58,650.00 1 0.00
1 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ 0 0.00 -
26 พ.ค. 68 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และอสม. 0 8,800.00 0.00
26 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน 0 500.00 -
27 พ.ค. 68 อบรมให้ความรู้มารดาหลังคลอด อสม.และผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี 0 49,350.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ในการเตรียมพร้อมก่อนและหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนได้
  2. เกิดแกนนำอสม.แต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.