กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมารดาสุขภาพดีเด็กชีวีสดใส ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน

1.นางลาตีปะ แก้วดำ โทร.0819901745
2.นางดาริน สุวรรณนิมิตร โทร.0805483696
3.นางนูรดีนี หมีดเส็น โทร.0869662250

10 ชุมชน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

87.50
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

87.18
3 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนธาตุเหล็กและกรดโฟลิก

 

92.50
4 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

61.11
5 ร้อยละความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-5 ปี

 

89.58
6 เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟัน

 

63.00
7 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

 

41.04
8 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักน้อย

 

10.65
9 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์

 

6.48
10 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยครั้งแรก

 

73.50
11 ร้อยละเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าต้องได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน

 

14.53
12 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

87.50

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เพราะการมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องแสวงหาและสร้างเสริมให้เกิดกับตนเอง พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิดได้ด้วยการปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นสุขนิสัย ซึ่งสถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการ บุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณได้ เริ่มจากการเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคม การดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน12สัปดาห์ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่ เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอพร้อมสร้างความรักความอบอุ่นและพัฒนาสมองของลูก ตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตพัฒนาการสมวัยและเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ต.พิมาน ปีงบประมาณ 2567 พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน12สัปดาห์ 40 ราย ร้อยละ 87.5 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด5ครั้งตามเกณฑ์ 40 ราย ร้อยละ 87.5 มารดาและทารกทั้งหมด 39 ราย ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด3ครั้ง 34 ราย ร้อยละ 87.18 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนธาตุเหล็กและกรดโฟลิกร้อยละ 92.5 เด็กแรกเกิดถึง6เดือนกินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 61.11 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-5 ปี ร้อยละ 89.58 เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการตรวจสุขภาพฟันร้อยละ 63เด็ก 0-5 ปีสูงดีสมส่วนร้อยละ 41.04 มีน้ำหนักน้อยร้อยละ 10.65 น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ร้อยละ 6.48 พัฒนาการสมวัยครั้งแรกร้อยละ 73.5 และพัฒนาการที่สงสัยล่าช้าต้องได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วันร้อยละ 14.53 ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน ได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน แม้ว่าสถิติผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ2567 ผ่านเกณฑ์ แต่บางตัวชี้วัดของงานอนามัยแม่และเด็กยังไม่ผ่านเกณฑ์ จึงควรมีการทบทวนการดำเนินงานและเพิ่มพัฒนาทักษะความรู้ การสาธิตและการนำไปปฏิบัติในชุมชน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและแก่ประชาชนในชุมชน จึงนำมาซึ่งการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองได้

หลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองมากกว่าร้อยละ 80 วัดผลโดยใช้แบบประเมิน

48.00 0.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์และการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์และการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75

30.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์

เด็กได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 90

135.00 0.00
4 เด็กแรกเกิด-6เดือนกินนมแม่อย่างเดียว

เด็กแรกเกิด-6เดือนกินนมแม่อย่างเดียว มากกว่าร้อยละ50

23.00 0.00
5 การตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก0-5ปีและการติดตามพัฒนาการได้รับการกระตุ้นภายใน30วัน

เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการมากกว่าร้อยละ95 และได้รับการกระตุ้นพัฒนาการภายใน30วัน ร้อยละ10

21.00 0.00
6 เด็ก0-5ปีสูงดีสมส่วน

เด็ก0-5 ปี สูงดี สมส่วน ร้อยละ60

140.00 0.00
7 เด็ก0-5ปีได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุ

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพฟันและฟันดีไม่มีผุร้อยละ80

48.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ุ 10
ผู้ดูแลเด็ก0-5ปี 10
มารดาหลังคลอด 10
หญิงตั้งครรภ์ 10
แกนนำอสม. 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจข้อมูลสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การสำรวจสุขภาพ ทบทวนปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
2.เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงานและติดต่อประสานงานกับเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
3.วางแผน/กำหนด อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย
4.จัดเตรียมสถานที่ จัดทำแบบประเมินความรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จากการประชุมค้นพบปัญหาที่ต้องนำมาจัดการ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการและภาวะซีดทั้งแม่และเด็ก การมาฝากครรภ์ครั้งแรกและการได้รับวัคซีนล่าช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และอสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และอสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบด้วย
อบรมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ (เช้า)
1.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์/การเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์/วัยรุ่น
2.การวางแผนการคุมกำเนิด ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก
อบรมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (บ่าย)
1.บทบาทพ่อแม่ การใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
2.การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์และอาการผิดปกติขณะตั้งครรภ์
3.ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์
4.การเตรียมนมแม่ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงเด็ก 0-6 เดือน
กำหนดการจัดอบรม
08.00-09.00 น.ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียนเปิดงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ
09.00-10.00 น.บรรยายให้ความรู้เกียวกับการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
10.00-12.00 น.บรรยายการเตรียมพร้อมในการฝากครรภ์ การปฏิบัติตนของมารดาวัยรุ่น/การวางแผนการคุมกำเนิด/ยาเม็ดเสริมไอโอดีนธาตุเหล็กและกรดโฟลิก วิทยากร นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.บรรยาย (ต่อ) และจัดกิจกรรมกลุ่ม ๆละ 10 คน 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก,การปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ และอาการผิดปกติที่เฝ้าระวังตลอดจนภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ วิทยากร นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 2 ทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ วิทยากร นายอัสรัณย์ เบ็ญญคุปต์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
กลุ่มที่ 3 การเตรียมนมแม่ตั้งแต่ก่อนคลอดและทารก0-6 เดือนวิทยากรนางสุภานี อาจบำรุงพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
16.00 น. ปิดการอบรม
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น. - 10.15 น. และเวลา 14.30 น. - 14.45 น.
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม มื้อละ 70 บาท x 30 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 30 บาท x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชุดเครื่องเขียน เป็นเงิน 750 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2568 ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 300 บาท
5.ค่าโฟมบอร์ดฝากท้องก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ เพื่อรับการประเมินตามมาตรฐานบริการฝากครรภ์คุณภาพโครงการ 2,500 วัน ขนาด 59x72 ซ.ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 250 บาท
6.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 3 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
7.ค่าตอบแทนวิทยากรแบบกลุ่ม จำนวน 3 คนๆ ละ 3 ช.ม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2568 ถึง 26 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ในการเตรียมพร้อมก่อนและหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนได้
  2. เกิดแกนนำอสม.แต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้มารดาหลังคลอด อสม.และผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้มารดาหลังคลอด อสม.และผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นการอบรมเชิงบรรยายในกลุ่มมารดาหลังคลอด อสม. และผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปีหัวข้อการอบรม ดังนี้
1.จัดอบรมให้ความรู้/สาธิต ส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.การส่งเสริมด้านวัคซีน พัฒนาการสุขภาพช่องปาก โภชนาการที่เหมาะสมตามวัย การอ่านกราฟโภชนาการ
3.การให้ความรู้การปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอดบุตร
4.การคัดกรองภาวะซีดในเด็ก ในสถานบริการ และเมื่อพบภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน-5ปี ติดตามโดยอสม.
5.จัดหาอุปกรณ์สำหรับเจาะปลายนิ้ว Hct.
กำหนดการจัดอบรม
08.00-09.00 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงทะเบียน
09.00-11.00 น.บรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่ PCU
11.00-12.00 น.แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
กลุ่มที่ 1 การปฏิบัติตนตนของมารดาหลังคลอดบุตร, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิทยากร นางสาวขวัญเรือน สุดใหม่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 2 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อายุ 0-6 เดือน วิทยากร นางสุภานี อาจบำรุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 3 ภาวะโภชนาการ การอ่านกราฟโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย วิทยาการ นางนูรฉาม มาลินี นักโภชนาการชำนาญการ
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น.บรรยายให้ความรู้และจัดกิจกรรมกลุ่มลงสู่การปฏิบัติ กลุ่มละ 10 คน 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การส่งเสริมด้านวัคซีน พัฒนาการสมวัย วิทยากร นางอาทิตยา ปูหยัง นักพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
กลุ่มที่ 2 สุขภาพช่องปาก วิทยากร นายอัสรัณย์ เบ็ญญคุปต์ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
กลุ่มที่ 3 ภาวะซีดกับการเจริญเติบโต วิทยากร นางสาวธัญพร สมันตรัฐ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
16.00-16.30 น. ถอดบทเรียน
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น. - 10.15 น. และเวลา 14.30 น. - 14.45 น.

งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม มื้อละ 70 บาท x 30 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ มื้อละ 30 บาท x 30 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชุดเครื่องเขียน เป็นเงิน 750 บาท
4.ค่าป้ายโฟมบอร์ด เรื่องบันได 10 ขั้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และโภชนาการเด็กสูงดี สมส่วน ขนาด 59x72 ซ.ม. จำนวน 2 ป้ายๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
5.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 2 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
6.ค่าตอบแทนวิทยากรแบบกลุ่ม จำนวน 3 คนๆ ละ 4 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
7.อุปกรณ์สำหรับเจาะปลายนิ้ว Hct.จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 35,000 บาท
8.แผ่นตรวจHct. ชิ้นละ 25 บาท (200ชิ้น/1กล่อง) เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2568 ถึง 27 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ในการเตรียมพร้อมก่อนและหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนได้
  2. เกิดแกนนำอสม.แต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49350.00

กิจกรรมที่ 4 การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การประเมินติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามเจาะ Hct เด็กอายุ 6เดือน ถึง 1 ปีในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง
2.ติดตามเจาะ Hct ในหญิงตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดทุก 1เดือน จนพบว่าไม่มีภาวะซีด
3.สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามภาวะซีดตามเกณฑ์และไม่มีภาวะทุพโภชนาการ
2.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกตามเกณฑ์
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์
4.เด็ก0-5ปี มารับวัคซีนตามเกณฑ์ และได้รับการตรวจพัฒนาการตามช่วงวัย
5.กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการทันตกรรมตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 58,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเอง ในการเตรียมพร้อมก่อนและหลังการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ สามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนได้
2. เกิดแกนนำอสม.แต่ละชุมชนในการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก
3. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมโครงการ มากกว่าร้อยละ 80


>