กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลพิมาน
รหัสโครงการ 68-L8008-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 26 มีนาคม 2568
งบประมาณ 16,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธัญพร สมันตรัฐ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 31 ส.ค. 2568 16,400.00
รวมงบประมาณ 16,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
20.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์
40.00
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ในตำบลพิมานที่มีภาวะซีด
20.65

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการเเละเหตุผล ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ 20โดยภาวะ โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หมายถึงภาวะที่ค่าความเข้มข้นของ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb) ต่ำกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าฮีมาโตคริต(Hematocrit, Hct) ต่ำกว่า 33 เปอร์เซ็นต์สาเหตุสำคัญของภาวะ โลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์คือการขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก แต่สาเหตุที่พบบ่อยของการขาด ธาตุเหล็กเกิดจากขณะตั้งครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นและหญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายที่ต้องการธาตุเหล็ก เพิ่มขึ้น หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารจานด่วน ขนมปังหรือ ขนมกรุบกรอบแทนอาหารมื้อหลัก 3 ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ ตับ รับประทานผักไม่ครบทุกมื้อ เลือกเวลาดื่มนมไม่เหมาะสม รับประทานยาเม็ดเสริม ธาตุเหล็กพร้อมนม หรือรับประทานหลังอาหารทันที และรับประทานไม่สม่ำเสมอทุกวัน รวมถึงเมื่อ รับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และภาวะโลหิตจางรุนแรงจะทำให้ ทารกแรกเกิดมีโอกาสน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด คะแนนแอพการ์ แรกคลอดไม่ดี ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เกิดการเจ็บป่วย ภายหลังคลอด และทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี ในวัยเด็กและวัยรุ่น และยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดา เนื่องจากการทำงานของหัวใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก ได้ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) กระทรวงสาธารณสุข กำหนดตัวชี้วัดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเกิน ร้อยละ 14 เเต่จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2567 พบหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จำนวน 184 คน มีภาวะซีด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 20.65 อายุระหว่าง 16-25 ปีพบว่าซีดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89 การศึกษาส่วนใหญ่ชั้นมัธยม พบร้อยละ 64 รายได้ครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง5,000-10,000 บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 53 กลุ่มที่มีภาวะซีด พบว่าร้อยละ 72 ไม่ได้กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงทุกวันร้อยละ 16 ไม่เคยได้รับความรู้เรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ (ฝากครรภ์ในคลินิกนอก) และร้อยละ 15 ที่ไม่ได้กินยาเสริมธาตุเหล็กทุกวัน เนื่องจาก กินแล้วจะมีอาการข้างเคียงคือมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นและท้องผูก จากข้อมูลข้างต้น ผู้รับผิดชอบงานแม่และเด็ก จึงสนใจ พัฒนากิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลพิมาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คาดว่าจะสามารถลดและป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำอาสาสมัครในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในชุมชน

อาสาสมัครตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลัง
คลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

60.00 80.00
2 หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแกนนำชุมชน

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ ได้รับการติดตามจาก อาสาสมัครตัวแทนชุมชนในการดูแลเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด อย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

30.00
3 เพื่อลดภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยของค่าฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้นในภาพรวมหรือมีค่าเฉลี่ยของค่าฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,400.00 2 900.00
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 จัดประชุมชี้แจง และอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทน อาสาสมัคร (จำนวน 60 ) 0 9,900.00 900.00
16 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 อาสาสมัครเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์เเละหญิงหลังคลอด ตามเเนวทางทางที่กำหนดเพื่อป้องกันเเละเเก้ปัญหาภาวะซีด(หญิงตั้งครรภ์เเละหญิงหลังคลอด จำนวน 30-40 คน) 0 6,500.00 -
12 มิ.ย. 68 ยนสานยา 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตำบลพิมาน มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดที่มีภาวะซีดลดลง
  2. หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด สามารถดูเเลตนเองได้ในการป้องกันเเละเเก้ปัญหาภาวะซีดได้ 3.หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด มีภาวะเเทรกซ้อนจากภาวะซีดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.