โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กไทยสุขภาพดี รพ.สต.บ้านลำพด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กไทยสุขภาพดี รพ.สต.บ้านลำพด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5196-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพด |
วันที่อนุมัติ | 20 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 39,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 62 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน | 80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การจัดการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาประเทศเพราะการให้การศึกษาเป็นการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญให้มีคุณภาพ จุดมุ่งหมายและหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 6 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขโดยเฉพาะการเริ่มพัฒนาไปตั้งแต่ยังเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 2 ปีจนถึง 6 ปี ถือว่าเป็นการวางรากฐานที่ดีให้ตั้งแต่เล็กๆ จำเป็นต้องมีการพัฒนาส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมครบทั้ง 4 ด้าน แต่ในปัจจุบันพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นที่น่าวิตกมากเมื่อพบว่าโดยภาพรวมแล้วเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยที่พ่อแม่ ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นจึงหาของเล่นสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด โดยไม่คำนึงว่าของเล่นนั้นๆ สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับเด็กปฐมวัย การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะการเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้น พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดู ต้องเข้าใจและสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพดได้เล็งเห็นความสำคัญด้านพัฒนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการที่สำคัญอันดับแรกคือ พัฒนาการทางด้านร่างกาย จำเป็นจะต้องมีสื่อต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนาม สื่อการการเรียนรู้ในห้องเรียน นอกห้องเรียน เป็นต้น ในปีการศึกษาที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำพดมีนักเรียนทั้งหมด 40 คน มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 82.5 และมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 ซึ่งมีแนวโน้มที่เด็กมีพัฒนาการล่าช้าและพัฒนาการไม่สมตามวัยในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี และรวมถึงทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสื่อและเครื่องเล่นต่างๆไม่เพียงพอ และไม่หลากหลายต่อการใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กๆอีกด้วย ดังนั้นจึงจัดโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กไทยสุขภาพดี รพ.สต.บ้านลำพด ปี 2568 โดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนโดยใช้สื่อและเครื่องเล่นที่หลากหลาย ได้มีเครื่องเล่นเพื่อใช้ในการเล่นออกกำลังกายฝึกการเคลื่อนไหว พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กคือการพัฒนากล้ามเนื้อมือและตาให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แขน ขาให้แข็งแรงฝึกการทรงตัว ฝึกความกล้าหาญ และการตัดสินใจฝึกทักษะการทำงานของร่างกาย และฝึกพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญา การรับรู้ความคิดฝัน และเลียนแบบจากของจริง ทำให้เด็กรู้จักปรับสิ่งใหม่ให้เข้ากับสิ่งที่คุ้นเคยหรือ รู้จักแล้วคิดและเข้าใจธรรมชาติตามที่เป็นจริง ช่วยฝึกการรู้จักอยู่ร่วมกับเพื่อนๆในสังคมได้อย่างถูกต้องและมีความสุข และให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กอย่างถูกวิธี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ/โภชนาการสมวัย เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย≥ร้อยละ 85 |
85.00 | 0.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก/โภชนาการตามวัย แม่และเด็กได้รับการดูแลแบบองค์รวม |
85.00 | 0.00 |
3 | เพื่อให้เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า/พัฒนาการล่าช้า ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100 |
100.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 39,000.00 | 0 | 0.00 | |
20 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. จัดกิจกรรมอบรมแกนนำ/ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย/ครู ศพด. | 0 | 30,500.00 | - | ||
20 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2คัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย คัดกรองภาวะซีด | 0 | 8,500.00 | - | ||
20 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 ติดตามเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า | 0 | 0.00 | - | ||
20 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 4. ส่งต่อ รพช.ในรายที่พบพัฒนาการล่าช้าหลังจากกระตุ้น | 0 | 0.00 | - |
- อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50
- เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย≥ร้อยละ 85
- เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการ≥ร้อยละ 90
- เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100
- เด็ก0-5ปีมีรูปร่างดีสมส่วน≥ร้อยละ60
- แม่และเด็กได้รับการดูแลแบบองค์รวม
- ผู้ดูแลเด็กมีความตระหนักและเข้าใจในการดูแลเด็กตามวัยมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2567 00:00 น.