โครงการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L1539-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัดเทศบาลอ่างทอง |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาภากร เรืองแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบของผู้สูบยาสูบเฉลี่ยต่อเดือน | 100.00 | ||
2 | จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ) | 0.00 | ||
3 | จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน | 1.00 | ||
4 | ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชน | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
1.หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าไทย ระบาดเพิ่ม 10 เท่าใน 1 ปี เปิดเผยในวงสัมมนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย น่าวิตกกังวลอย่างยิ่งเพราะอยู่ในช่วงระบาดขาขึ้น ที่จำเป็นต้องประสานความร่วมมืออย่างเป็นระบบและเข้มข้นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย ซึ่งสิ่งที่สำคัญต้อง ‘กฎหมายห้ามนำเข้าห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า’เพราะหากคิดว่าคุมไม่ได้ก็ยกเลิกกฎหมายห้ามนำเข้าห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าไปเลย ไทยจะยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากกว่านี้ อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนพุ่ง ขึ้น 2-5 เท่าใน 3 ปี ดังนั้นสิ่งที่ไทยจะต้องทำเร่งด่วนนอกเหนือจากห้ามนำเข้า คือ ‘เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ในการจับ ปรับ อย่างจริงจัง ห้ามโฆษณาและห้ามขายโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์’ จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปี ในเฟสบุ๊คกลุ่ม (ปิด) ซักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า โดยเป็นตัวแทนขายตรงพร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดีกลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนมีนัดที่จะไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่ายโดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียน ฯลฯ บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6 ทต.อ่างทองได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อกลุ่มเยาวชน จึงได้จัดโครงการ “โครงการรณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน” เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้รู้เท่าทันเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการสูบของบุหรี่ไฟฟ้า และเป็นแกนนำในการช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่ไฟฟ้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญผลกระทบและความสูญเสีย ของพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
|
||
2 | เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมผลิตยาสูบ พ.ศ.2560
|
||
3 | เพื่อร่วมกำหนดให้สถานที่ราชการ สถานศึกษา สถานที่สาธารณะ ในตำบลอ่างทอง เป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตยาสูบ
|
||
4 | เพื่อให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสร้างการเรียนรู้สู่สังคมปลอดบุหรี่
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่แก่เด็กนักเรียน | 0 | 20,000.00 | - |
1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ ผลกระทบและความสูญเสีย ของพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมยาสูบ พ.ศ. 2560 3.มีแนวทางร่วมกันในการกำหนดให้สถานที่ราชการ สถานศึกษา สถานที่สาธารณะ ในตำบลอ่างทองเป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตยาสูบ 4.เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสร้างการเรียนรู้สู่สังคมปลอดบุหรี่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2567 00:00 น.