กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3325-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 46,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทยา ทองหนูนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่หมู่ที่ 4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
13.69
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
38.27
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
9.09
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
38.27

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้ สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2562 - 2566 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1,136.36, 712.50 782.08 และ 1,263 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2562 -2566 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน103 คน ,132 คน ,174 คน , 108 คน และ 112 คนในปี 2567 โดยในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปพบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 112 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ84.82จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.47 จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชาการอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 0.14 ต่อแสนประชากร ตำบลมะกอกเหนือมีอัตราตาย 0.22 ต่อแสนประชากร (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2562 – 2566 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 5.483, 5.481 , 5.492,5.216 ,7.04 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จังหวัดพัทลุงปี2567 คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,085 คนคิดเป็นร้อยละ 97.40 พบ ปกติ จำนวน851 คน คิดเป็นร้อยละ 78.47 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 19.82 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.66 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562 - 2566 จำนวน674.72 , 427.50 , 148.51,544.55 , 714.00 ตามลำดับ อัตราต่อแสนประชากร (ข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง) การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

13.69 12.00
2 2.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

38.27 35.00
3 3.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลง

12.76 10.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

9.09 7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 3.สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส โดยแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวในวันคลินิคโรคเรื้อรัง 0 16,000.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 7.กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 0 0.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 4.กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ 0 0.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 5.กิจกรรมตรวจและเฝ้าระวังแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า ช่องปาก) 0 0.00 -
1 ต.ค. 67 - 31 ส.ค. 68 6.กิจกรรมติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย 0 8,500.00 -
1 พ.ย. 67 - 31 ส.ค. 68 1.คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 15 – 34 ปี 0 1,500.00 -
1 พ.ย. 67 - 31 ส.ค. 68 2.คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 0 20,750.00 -
รวม 0 46,750.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามาถควบคุมภาวะความดันได้ดีและไม่มีภาวะการแทรกซ้อนของโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 11:46 น.