โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน ตำบลวังประจัน
ชื่อโครงการ | โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน ตำบลวังประจัน |
รหัสโครงการ | 2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธาณสุขตำบลวังประจัน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอาซีซ๊ะ ละใบโดย และนางกอดาน๊ะ เหมสลาหมาด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ
ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันแรกเป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6 เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิตการโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง
จากการติดตามภาวะโภชนาการของ รพ.สต.บ้านวังประจัน พ.ศ.2567 พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 14.29ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.56ส่วนในเด็ก 0 - 5 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 55.08มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90 ในเด็กเด็ก 0-3 ปีปราศจากฟันผุ และในเด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ24 และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังประจัน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี รวมทั้งสามีและผู้ดูแลเด็ก จึงได้จัดทำโครงการโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน ตำบลวังประจัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด - 5 ปี ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ มีสติปัญญาและศักยภาพที่ดี จำนวนสตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดตาม มาตรฐานที่กำหนด |
0.00 | |
2 | เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ดูแล สตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0 - 5 ปีรวมทั้งการสร้างความผูกพันระหว่างเด็ก ครอบครัวและชุมชน จำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีสามีได้รับยาโฟเลตและเฟอรรัส อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการ ตั้งครรภ์ |
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและองค์กรต่างๆ ในการเพิ่มศักยภาพของครอบครัวใน การดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0- 5 ปี รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาและหาทางออกให้กับครอบครัว จำนวนสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น |
0.00 | |
4 | เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางสังคมที่พึง ได้รับในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ สตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0 - 5 ปี จำนวนเด็กที่ได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งมีอายุครบ 5 ปีบริบูรณ์ และมี คุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด ดังนี้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,700.00 | 0 | 0.00 | 12,700.00 | |
1 - 5 พ.ค. 68 | ประชุมคณะทำงาน คณะกรรมการ และภาคีเครือข่าย | 0 | 0.00 | - | - | ||
6 พ.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 | จัดอบรมให้ความรู้ หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร สามี และผู้ดูแลเด็ก | 0 | 2,800.00 | - | - | ||
6 พ.ค. 68 - 30 ส.ค. 68 | เฝ้าระวังและส่งเสริมการเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย ติดตาม และเยี่ยมพัฒนาการเด็ก | 0 | 9,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 12,700.00 | 0 | 0.00 | 12,700.00 |
- เกิดความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและชุมชน ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 0 - 5 ปี สามารถดำเนินการต่อยอดในการดูแลต่อเนื่อง
- เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้ครอบครัวและชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชนอย่างแท้จริง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 08:43 น.