โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง
ชื่อโครงการ | โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง |
รหัสโครงการ | 68-L1529-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์) |
วันที่อนุมัติ | 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 13,440.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเกรียงไกร ตันเจี่ย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์) |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 13,440.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,440.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นนำเงินสะสมคงเหลือมาสนับสนุนให้ผู้รับทุนดำเนินการโครงการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา เนื่องจากเด็กวัยเรียนใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาถึง “หนึ่งในสาม” ของเวลาในแต่ละวัน ภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนและเยาวชนจะเป็นพื้นฐานของภาวะสุขภาพตลอดชีวิตที่มีอยู่ ทั้งยังเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา จิตวิญญาณในลักษณะเจริญเติบโตขึ้น สามารถพัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์เต็มตามศักยภาพได้ แต่ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น จึงต้องพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาให้ยั่งยืนจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ภาวะสุขภาพของเด็กและเยาวชนอยู่ในระดับสูงสุดตามศักยภาพตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างนโยบายที่จะเป็น“สถานศึกษาสร้างเสริมสุขภาพ” 2) การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง 3) การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้เข้มแข็งเน้นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการ/ปัญหาสุขภาพคล้ายคลึงกันในรูปของชมรม/กลุ่ม 4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลที่จำเป็นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของนักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และผู้อาศัยในชุมชนรอบสถานศึกษาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย และ 5) การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งเน้นหนักในด้านความสะอาด เพราะเป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆอีกทั้ง รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไว้เป็นวาระแห่งชาติ โดยการสร้างจิตสำนึก และ วินัยในการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่นักเรียนและเยาวชน โดยให้โรงเรียนมีการปฏิบัติเป็นรูปธรรม อีกทั้งปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไข โดยเฉพาะขยะเป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งของโรงเรียนเพราะปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมาก ทำให้มีขยะตกค้างส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู แมลงวัน แมลงหวี่ ยุง แมลงสาบ และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร โรคฉี่หนู โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นในด้านการรักษาความสะอาดในสถานศึกษา สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะอย่างยั่งยืน โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรักษาความสะอาด การคัดแยกขยะ การสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อนำไปสู่ความตระหนักรับผิดชอบสังคม สิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้ ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้ |
1.00 | 1.00 |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้อง ลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้อง ลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ |
1.00 | 1.00 |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัย ของตนเอง ร้อยละ 80 ของนักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัย ของตนเอง |
1.00 | 1.00 |
4 | ข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร้อยละ 80 ของนักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ |
1.00 | 1.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง | 0 | 12,840.00 | - | ||
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | ค่าใช้จ่ายอื่นๆ | 0 | 600.00 | - | ||
รวม | 0 | 13,440.00 | 0 | 0.00 |
- นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของ โรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้
- นักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้องลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
- นักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัยของตนเอง
- นักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 13:28 น.