กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์)

1.นายเกรียงไกรตันเจี่ย
2.นางสาวสุภัชชาจันทร์สุขศรี
3.นายจิรพันธุ์ช่องลมกรด
4.นางสาวธัญญารัตน์อินทร์ทอง
5.นายวิทวัส อาภรณ์
6.นายเกียรติศักดิ์พลเดช

โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นนำเงินสะสมคงเหลือมาสนับสนุนให้ผู้รับทุนดำเนินการโครงการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา เนื่องจากเด็กวัยเรียนใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาถึง “หนึ่งในสาม” ของเวลาในแต่ละวัน ภาวะสุขภาพของเด็กวัยเรียนและเยาวชนจะเป็นพื้นฐานของภาวะสุขภาพตลอดชีวิตที่มีอยู่ ทั้งยังเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา จิตวิญญาณในลักษณะเจริญเติบโตขึ้น สามารถพัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์เต็มตามศักยภาพได้ แต่ปัจจุบันสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพมากขึ้น จึงต้องพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาให้ยั่งยืนจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ภาวะสุขภาพของเด็กและเยาวชนอยู่ในระดับสูงสุดตามศักยภาพตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างนโยบายที่จะเป็น“สถานศึกษาสร้างเสริมสุขภาพ” 2) การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง 3) การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้เข้มแข็งเน้นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการ/ปัญหาสุขภาพคล้ายคลึงกันในรูปของชมรม/กลุ่ม 4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลที่จำเป็นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของนักเรียน ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และผู้อาศัยในชุมชนรอบสถานศึกษาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย และ 5) การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ซึ่งเน้นหนักในด้านความสะอาด เพราะเป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆอีกทั้ง รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไว้เป็นวาระแห่งชาติ โดยการสร้างจิตสำนึก และ วินัยในการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่นักเรียนและเยาวชน โดยให้โรงเรียนมีการปฏิบัติเป็นรูปธรรม
อีกทั้งปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลและแก้ไข โดยเฉพาะขยะเป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งของโรงเรียนเพราะปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมาก ทำให้มีขยะตกค้างส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์หนู แมลงวัน แมลงหวี่ ยุง แมลงสาบ และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร โรคฉี่หนู โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและสนับสนุนนโยบายการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นในด้านการรักษาความสะอาดในสถานศึกษา สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะอย่างยั่งยืน โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรักษาความสะอาด การคัดแยกขยะ การสร้างสุขภาวะที่ดีให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เกิดมาจากปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อนำไปสู่ความตระหนักรับผิดชอบสังคม สิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้

1.00 1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้อง ลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้อง ลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

1.00 1.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัย ของตนเอง

ร้อยละ 80 ของนักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัย ของตนเอง

1.00 1.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 140
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียนสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ทิ้งขยะให้ถูกที่ให้ถูกถัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 3.5*2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน วันละ 3 ชั่วโมง
    ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 150 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท
    เป็นเงิน 3,750 บาท
  • ชุดสาธิตเพื่อการคัดแยกขยะ ความจุ 120 ลิตร ล้อเข็นฝาเรียบ จำนวน 4 ถังๆละ 1,490 บาท เป็นเงิน 5,960 บาท
  • ถุงดำ ขนาด 46*60 นิ้ว 4 แพ็คๆละ 70 บาท เป็นเงิน 280 บาท
  • รวมเป็นเงิน 12,840 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนให้น่าอยู่ มีวินัย ลดการหมักหมมของขยะ ลดเชื้อโรคจาก หนู แมลงสาบ และให้เด็กเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัย ของตนเอง นักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12840.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพิมพ์ และถ่ายเอกสารประกอบการบรรยาย เข้าเล่มรายงานเอกสารโครงการ เป็นเงิน 600 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,440.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายตามความเป็นจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ในการดูแลรักษาความสะอาดของ โรงเรียนให้น่าอยู่ ตลอดจนดูเลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ปลอดภัยได้
2. นักเรียนมีวินัย สามารถคัดแยกขยะ ทิ้งขยะได้ถูกที่ และถูกถังได้อย่างถูกต้องลดการเผาขยะ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
3. นักเรียนเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขอนามัยของตนเอง
4. นักเรียนรู้จักนำขยะรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ เพื่อลดการสร้างมลพิษที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ


>