กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนและชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนและชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ L3339-68-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 54,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ว฿งพัฒนามาเป็นงานสุขภาพภาคประชาชนในปัจจุบัน เป็นการทำงานโดยสนับสนุนให้ประชาชน เป็นแกนนำในการพัฒนา ที่สามารถบูรณาการกับงานสาธารณสุข ที่ครอบคลุ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน วงพัฒนามาเป็นงานสุขภาพภาคประชาชนในปัจจุบัน เป็นการทำงานโดยสนับสนุนให้ประชาชน เป็นแกนนำในการพัฒนา ที่สามารถบูรณาการกับงานสาธารณสุข ที่ครอบคลุม ๕ ด้านคือ ด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม ๕ ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการฟื้นฟูสภาพ ด้านการรักษาพยาบาลและการสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองและด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งงานเหล่านี้จะมีความสอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลกัน จึงมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมพัฒนาหรือแก้ปัญหาแบบบูรณาการ
การจัดการด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลโดยตรงต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนในชุมชนที่เสริมคุณภาพงานด้านการป้องกันโรคและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาการ เช่น โรคอุจจาระร่วง และกลุ่มโรคติดต่อที่นำโดยแมลง เช่น โรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีอื่นๆ การจัดการขยะครัวเรือน โดยปฏิบัติตามแนวทาง 3Rs กล่าวคือ Reduce : ใช้ให้น้อยลง ลดการใช้ ใช้เท่าที่จำเป็นรวมทั้งการเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน Reuse : การนำกลับมาใช้ซ้ำ Recycle : การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการขยะชุมชนโดยตรง การจัดการขยะ ที่ดีจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์และรายได้ทดแทนให้กับครัวเรือนและชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย แม้ว่าโครงการจัดการขยะครัวเรือและโครงการการจัดการขยะชุมชนในพื้นที่ตำบลหารเทาจะได้ดำเนินการไปบ้างแล้วแต่ความสำเร็จของโครงการยังไม่ปรากฏชัดเจน และขาดความต่อเนื่องโดยวิถีชุมชน ซึ่งอาจเป็นเพราะมีวิธีการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้อง และขาดการรับรู้เกี่ยวกับกลวิธีการดำเนินงานในด้านนี้จากพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนแบบบูรณาการอีกส่วนหนึ่ง

20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมความรู้แกนนำชุมชนแกนนำสุขภาพ และภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงานแบ่งเป็น ๓ รุ่น ดังนี้รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๐ คนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๕ คน รุ่นที่ ๓๐ คน

มีแกนนำชุมชน แกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่าย ร่วมกิจกรรม จำนวน ๗๕ คน

0.00
2 เพื่อจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัดพัทลุงระยะเวลา ๑ วัน ไปและกลับ

แกนนำชุมชน แกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่าย ร่วมกิจกรรม จำนวน ๗๐ คน

0.00
3 กิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือ และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
  • มีกิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ครอบคลุม ทุกครัวเรือน (๗๒๐ ครัวเรือน)
  • มีครัวเรือนจัดกิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ครอบคลุม ระดับดี จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมความรู้แกนนำชุมชนแกนนำสุขภาพ และภาคีเครือข่าย และแต่งตั้งคณะทำงาน (จำนวน ๗๕ คน : เวลา ครึ่งวัน)แบ่งเป็น ๓ รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๐ คนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๕ คน รุ่นที่ ๓ จำนวน ๓๐ คน 0 9,450.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัดพัทลุงระยะเวลา ๑ วัน ( ๗๐ คน) 0 20,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน (กิจกรรมรวม ๓ หมู่บ้าน) 0 24,550.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าประชุมครัวเรือน/หมู่บ้าน/ชุมชนมีความรู้และสามารถพัฒนากิจกรรมส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ๒. ครัวเรือน/หมู่บ้าน/ชุมชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคระดับครัวเรือนและชุมชน ๓. ครัวเรือนและชุมชนจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง CLEAN Community ที่มีกิจกรรมการจัดการขยะเป็นกิจกรรมนำ ๔. เกิดนวตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2567 00:00 น.