กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนและชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะครัวเรือนและชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ

๑. นางประคอง เทพสุริบูรณ์
๒. นางอารมณ์ ชูเย็น
๓. นางอำไพพันธ์ ดำแก้ว
๔.นางพรรณี กุมพัน
๕. นางยุพา ยิ้มแก้ว
๖. นางอภิญญา ศิริสวัสดิ์

หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 8 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ว฿งพัฒนามาเป็นงานสุขภาพภาคประชาชนในปัจจุบัน เป็นการทำงานโดยสนับสนุนให้ประชาชน เป็นแกนนำในการพัฒนา ที่สามารถบูรณาการกับงานสาธารณสุข ที่ครอบคลุ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนด้านการสาธารณสุขโดยกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน วงพัฒนามาเป็นงานสุขภาพภาคประชาชนในปัจจุบัน เป็นการทำงานโดยสนับสนุนให้ประชาชน เป็นแกนนำในการพัฒนา ที่สามารถบูรณาการกับงานสาธารณสุข ที่ครอบคลุม ๕ ด้านคือ ด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเสมอภาคและเท่าเทียมกันโดยกำหนดยุทธศาสตร์นโยบายและแผนเพื่อให้มีการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม ๕ ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการฟื้นฟูสภาพ ด้านการรักษาพยาบาลและการสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองและด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข รวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งงานเหล่านี้จะมีความสอดคล้องและเป็นเหตุเป็นผลกัน จึงมีความจำเป็นต้องจัดกิจกรรมพัฒนาหรือแก้ปัญหาแบบบูรณาการ
การจัดการด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลโดยตรงต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนในชุมชนที่เสริมคุณภาพงานด้านการป้องกันโรคและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาการ เช่น โรคอุจจาระร่วง และกลุ่มโรคติดต่อที่นำโดยแมลง เช่น โรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีอื่นๆ การจัดการขยะครัวเรือน โดยปฏิบัติตามแนวทาง 3Rs กล่าวคือ Reduce : ใช้ให้น้อยลง ลดการใช้ ใช้เท่าที่จำเป็นรวมทั้งการเลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน Reuse : การนำกลับมาใช้ซ้ำ Recycle : การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดการขยะชุมชนโดยตรง การจัดการขยะ ที่ดีจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์และรายได้ทดแทนให้กับครัวเรือนและชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย แม้ว่าโครงการจัดการขยะครัวเรือและโครงการการจัดการขยะชุมชนในพื้นที่ตำบลหารเทาจะได้ดำเนินการไปบ้างแล้วแต่ความสำเร็จของโครงการยังไม่ปรากฏชัดเจน และขาดความต่อเนื่องโดยวิถีชุมชน ซึ่งอาจเป็นเพราะมีวิธีการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้อง และขาดการรับรู้เกี่ยวกับกลวิธีการดำเนินงานในด้านนี้จากพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านห้วยเรือ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำชุมชนในการจัดการขยะชุมชนเพื่อการป้องกันโรคแบบบูรณาการ เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ซึ่งจะส่งผลที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของประชาชนแบบบูรณาการอีกส่วนหนึ่ง

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมความรู้แกนนำชุมชนแกนนำสุขภาพ และภาคีเครือข่าย ที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงานแบ่งเป็น ๓ รุ่น ดังนี้รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๐ คนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๕ คน รุ่นที่ ๓๐ คน

มีแกนนำชุมชน แกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่าย ร่วมกิจกรรม จำนวน ๗๕ คน

0.00
2 เพื่อจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัดพัทลุงระยะเวลา ๑ วัน ไปและกลับ

แกนนำชุมชน แกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่าย ร่วมกิจกรรม จำนวน ๗๐ คน

0.00
3 กิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือ และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม
  • มีกิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ครอบคลุม ทุกครัวเรือน (๗๒๐ ครัวเรือน)
  • มีครัวเรือนจัดกิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ครอบคลุม ระดับดี จำนวน ๒๐๐ ครัวเรือน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้แกนนำชุมชนแกนนำสุขภาพ และภาคีเครือข่าย และแต่งตั้งคณะทำงาน (จำนวน ๗๕ คน : เวลา ครึ่งวัน)แบ่งเป็น ๓ รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๐ คนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๕ คน รุ่นที่ ๓ จำนวน ๓๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรู้แกนนำชุมชนแกนนำสุขภาพ และภาคีเครือข่าย และแต่งตั้งคณะทำงาน (จำนวน ๗๕ คน : เวลา ครึ่งวัน)แบ่งเป็น ๓ รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ ๑ จำนวน ๒๐ คนรุ่นที่ ๒ จำนวน ๒๕ คน รุ่นที่ ๓ จำนวน ๓๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ป้ายโครงการ ขนาด๑ x ๔ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๖๐๐บาท
๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๑ มื้อx ๓๐ บาท x ๗๕ คน เป็นเงิน๒,๒๕๐บาท
๓.ค่าตอบแทนคุณวิทยากร ๖ ชั่วโมงX ๖๐๐ บาท = ๓,๖๐๐ บาท
๔. ค่าตกแต่งสถานที่เชิงกิจกรรมสาธิต ฐาน 3Rs เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท
รวมเป็นเงิน ๙,๔๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9450.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัดพัทลุงระยะเวลา ๑ วัน ( ๗๐ คน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในจังหวัดพัทลุงระยะเวลา ๑ วัน ( ๗๐ คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าเช่าเหมารถบัส ๒ คัน x ๕,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒ มื้อx ๓๐ บาท เป็นเงิน ๔,๒๐๐ บาท
๓.ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อx๗๐ บาท เป็นเงิน ๔,๙๐๐บาท
๔.ค่าของที่ระลึก ๙๐๐ บาท
รวมเป็นเงิน ๒๐.๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน (กิจกรรมรวม ๓ หมู่บ้าน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาการจัดการขยะครัวเรือน และการจัดการขยะชุมชน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน (กิจกรรมรวม ๓ หมู่บ้าน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑ มื้อ x ๓๐บาท x ๙๐ คน เป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท
๒. ค่าอาหารว่างรับรองแขก ๓๐ คน x ๓๐ บาท เป็นเงิน ๙๐๐ บาท
๓. ค่าตอบแทนการแสดงผลงานเด่น หรือนวัตกรรม ๖,๐๐๐ บาท
๔. ค่าเช่าเครื่องเสียง ๓,๐๐๐ บาท
๕. ค่าเช่าเต็นท์ ขนาด ๕ x ๑๒ เมตร จำนวน ๒ หลัง x ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
๖. ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ในชุมชน หมู่บ้านละ ๑ จุด รวม ๓ จุด
- ค่าใช้จ่ายในการแสดงผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล
- ค่าใช้จ่ายในการรวบรวมขยะรีไซเคิ้ลจากชุมชน
-ป้ายไวนิล และวัสดุ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน ๖,๙๕๐ บาท
รวมเป็นเงิน๒๔,๕๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าประชุมครัวเรือน/หมู่บ้าน/ชุมชนมีความรู้และสามารถพัฒนากิจกรรมส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง
๒. ครัวเรือน/หมู่บ้าน/ชุมชนมีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคระดับครัวเรือนและชุมชน
๓. ครัวเรือนและชุมชนจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง CLEAN Community ที่มีกิจกรรมการจัดการขยะเป็นกิจกรรมนำ
๔. เกิดนวตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชน


>