โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8420-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ |
วันที่อนุมัติ | 1 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 28,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะโจฮัน สะวี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางวรรณาพร บัวสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.893209,101.354397place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 115 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด | 45.59 | ||
2 | เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด | 26.76 | ||
3 | เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด | 22.32 | ||
4 | เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด | 23.73 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือการให้วัคซีนทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน หรือความต้านทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค หรือทำให้โรคมีความรุนแรงน้อยลง วัคซีนทำหน้าที่เสมือนเป็นสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไว้เป็นเครื่องป้องกันให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคบางชนิดได้ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียการให้วัคซีนเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงซึ่งมีความคุ้มค่ากว่าการให้การรักษาโรคเมื่อมีการติดเชื้อหรือเป็นโรคแล้วปัจจุบันการให้วัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี สามารถป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรควัณโรค โรคตับอักเสบบีโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ โรคหัด และไข้สมองอักเสบ หากไม่ได้รับวัคซีนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองในเรื่องความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ส่วนผู้ปกครองเด็กก็จะมีผลกระทบในเรื่องรายได้ที่ต้องสูญเสียไปจากการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพเมื่อต้องดูแลบุตรที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในโรงพยาบาล รวมถึงงบประมาณของสถานบริการสาธารณสุขในส่วนของยา และเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ไปในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละคนที่เพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อสังคมเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในพื้นที่ระบาด ข้อมูลผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ ๒๕๖7พบว่าในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๑ ปีมีความครอบคลุม ร้อยละ 45.59 ในกลุ่มเด็กอายุครบ ๒ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ 26.76 ในกลุ่มเด็กอายุครบ ๓ ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ 22.32 และในกลุ่มเด็กอายุครบ 5 ปี มีความครอบคลุม ร้อยละ 23.73 (รง.ประจำปี จาก HDC รพ.สต.ตะโละกาโปร์ 2567) เกณฑ์มาตรฐานของการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานอัตราป่วยตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ แต่พบว่าในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงของจังหวัดปัตตานี ได้เกิดการระบาดของโรคคอตีบ ไอกรน และโรคหัด สาเหตุ และปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดที่ค้นพบจากการทำประชาคมสุขภาพในพื้นที่ คือ ขาดความต่อเนื่องของการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี ไม่มีเวทีให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดังนั้น กลวิธีการดำเนินงานสำหรับใช้แก้ปัญหาตามเหตุ และปัจจัยที่พบในครั้งนี้ คือ การใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญยิ่งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดประชากรเป้าหมายที่สุด รวมถึงผู้นำศาสนาก็เป็นอีกภาคีเครือข่ายหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นผู้ดูแลเด็กโดยตรง และนำแนวคิดหรือทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจต่อภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานมาเสริมความเป็นบุคคลจิตอาสาของภาคีเครือข่ายที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิมให้มีขวัญและกำลังใจเพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม เมื่อดำเนินการแล้วคาดว่าจะทำให้การดำเนินงานสร้างเสริภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลทำให้ไม่มีอัตราป่วย หรืออัตราตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๕ ปี อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๕ ปี เพิ่มขึ้น |
23.59 | 30.00 |
2 | เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากขึัน |
45.00 | 50.00 |
3 | เพื่อให้อสม.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อสม.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น |
70.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 28,350.00 | 0 | 0.00 | 28,350.00 | |
1 - 31 ม.ค. 68 | ประชุมคณะทำงานโครงการ | 0 | 8,100.00 | - | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามและเชิงรุกส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กที่ไม่มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ | 0 | 4,200.00 | - | - | ||
1 ก.พ. 68 - 31 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี | 0 | 16,050.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 28,350.00 | 0 | 0.00 | 28,350.00 |
1.อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในเด็ก ๐-๕ ปี เพิ่มขึ้น
2.ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนมากยิ่งขึ้น
3.อสม.ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2567 11:08 น.