กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ใส่ใจสุขภาพ ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L8420-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 33,202.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหัมหมัดสอฟี มะลี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.892868,101.367443place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5
10.00
2 จำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี
52.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร
40.00
4 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ
40.00
5 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ
1.00
6 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ
10.00
7 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง
50.00
8 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ
50.00
9 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง
40.00
10 อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
58.17
11 อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
21.90

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ สาเหตุเกิดจากครัวเรือนและสถานประกอบการต่างๆที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในระยะยาว การที่จะลดปริมาณขยะให้ลดลงและการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆให้ยั่งยืน จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ได้กำหนดแนวทางการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นแกนนำในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล และรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ สื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนัก ด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ทำหน้าที่การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการภาคเอกชน และเครือข่าย อถล. เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะ ผู้ป่วยในพื้นที่ส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และพบในเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 5 ปี เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มักเกิดจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมีส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝุ่นละออง (PM 2.5) ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ปัญหาขยะ และอื่นๆ ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม ใส่ใจสุขภาพ ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

10.00 50.00
2 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

50.00 30.00
3 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

50.00 30.00
4 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง

40.00 20.00
5 เพื่อลดจำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี

จำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี

52.00 30.00
6 เพื่อเพิ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

10.00 30.00
7 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

40.00 10.00
8 เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ

1.00 5.00
9 เพื่อเพิ่มหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

40.00 90.00
10 เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ลดลง

58.17 20.00
11 เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ลดลง

21.90 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 15 33,202.00 1 450.00
14 ก.พ. 68 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ลด และ คัดแยกขยะ โดยการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 0 16,252.00 -
21 ก.พ. 68 - 30 เม.ย. 68 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน 0 8,650.00 -
1 พ.ค. 68 - 1 ก.ค. 68 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจปลูกไม้ผล ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจนให้ชุมชน 0 7,250.00 -
14 พ.ค. 68 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน 15 450.00 450.00
1 ส.ค. 68 - 29 ก.ย. 68 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมกันถอดบทเรียน และปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานโครงการ 0 600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
  2. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ที่ถูกต้อง และให้ความสำคัญในเรื่องนี้
  3. เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
  4. เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตรในตำบล
  5. เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศของตำบล
  6. เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะในพื้นที่ลง
  7. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจนในตำบลตะโละกาโปร์
  8. เพิ่มแหล่งเรียนรู้เรื่องถังขยะเปียกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2568 12:22 น.