กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ใส่ใจสุขภาพ ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ใส่ใจสุขภาพ ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์

นายอาบูรอฮันดอดอเลาะ
นายมูหัมหมัดสอฟีมะลี
นายมันโซร์อะหมัดชะร็อฟ
นางสาวฟิรดาวส์สูแม็ง
นางสาวสมีนูรวานีตามะแด

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

 

10.00
2 จำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี

 

52.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

 

40.00
4 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

 

40.00
5 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ

 

1.00
6 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

10.00
7 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

 

50.00
8 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

 

50.00
9 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง

 

40.00
10 อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

 

58.17
11 อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

 

21.90

ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ สาเหตุเกิดจากครัวเรือนและสถานประกอบการต่างๆที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในระยะยาว การที่จะลดปริมาณขยะให้ลดลงและการดูแลสิ่งแวดล้อมต่างๆให้ยั่งยืน จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างเต็มที่ ซึ่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ได้กำหนดแนวทางการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นแกนนำในการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล และรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ สื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนัก ด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ทำหน้าที่การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น และให้ความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการภาคเอกชน และเครือข่าย อถล. เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะ ผู้ป่วยในพื้นที่ส่วนใหญ่จะป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ และพบในเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 5 ปี เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มักเกิดจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมีส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝุ่นละออง (PM 2.5) ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ปัญหาขยะ และอื่นๆ ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม ใส่ใจสุขภาพ ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

10.00 50.00
2 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเสีย ฝุ่นละออง ควัน ขยะ เสียงดัง

50.00 30.00
3 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะลง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

50.00 30.00
4 เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง

ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาฝุ่นละออง

40.00 20.00
5 เพื่อลดจำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี

จำนวนวันที่ค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในรอบปี

52.00 30.00
6 เพื่อเพิ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

10.00 30.00
7 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

40.00 10.00
8 เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศ

1.00 5.00
9 เพื่อเพิ่มหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

40.00 90.00
10 เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ลดลง

58.17 20.00
11 เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ลดลง

21.90 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการ และมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงานของสภาเด็กและเยาวชนตำบลตะโละกาโปร์ อธิบายการดำเนินงานโครงการ และมีการมอบหมายการปฏิบัติงานของแต่ละคน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานของสภาเด็กและเยาวชนฯ มีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ลด และ คัดแยกขยะ โดยการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ลด และ คัดแยกขยะ โดยการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้แก่เยาวชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการการลดและคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยผ่านกระบวนการของชุมชน
2. จัดให้มีเครือข่าย การรวมกลุ่มการแปรรูปขยะมูลฝอย เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์
3.มีการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะมีวิทยากรผู้มากประสบการณ์ มาให้ความรู้ คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในส่วนนี้
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 * 70 * 2 = 4,902 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 60 * 70 * 1 = 4,200 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ท่าน ๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดอบรมฯ 2,800 บาท
5. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2*2.5 ตารางเมตร รวมเป็นเงิน 750 บาท
รวมทั้งสิ้น 16,252 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อถล. มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการลดและคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ได้ ร้อยละ 80
  2. อถล. สามารถนำความรู้ที่ได้รับ นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตภายในครัวเรือน และสามารถเป็นแบบอย่างให้บ้านใกล้เรือนเคียง เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะได้ถูกต้อง
  3. มีเครือข่ายกลุ่ม อถล.ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ เพิ่มมากขึ้น
  4. สามารถเกิดอาชีพในการแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ภายในชุมชนได้จริง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16252.00

กิจกรรมที่ 3 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มีการจัดทำถังขยะเปียกหน่วยงานต้นแบบ ณ อบต. และ ศพด.ตะโละกาโปร์
  2. มีการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 10 ครัวเรือน
    งบประมาณ
  3. ค่าถังดำ พร้อมฝาปิด ขนาดบรรจุ 75 ลิตร จำนวน 20 ถัง ๆ ละ 170 บาทเป็นเงิน 3,400 บาท
  4. ป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด 1.2* 2.5 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 750 บาท
  5. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท
  6. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท
  7. ป้ายไวนิลประจำจุด ขนาด 1.0 * 0.5 ม. พร้อมโครงไม้ จำนวน 2 ป้าย ๆ ละ 900 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  8. ค่าวัสดุในการจัดทำเสาของป้ายประจำจุด (ไม้ไผ่) เป็นเงิน 850 บาท
    รวมเป็นเงิน 8,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อขับเคลื่อน การลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น
  2. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกของชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง ตำบลตะโละกาโปร์
  3. สามารถส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชนในแต่ละครัวเรือน
  4. สามารถลดปัญหาปริมาณขยะ ลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม สามารถ แก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในโลกนี้ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8650.00

กิจกรรมที่ 4 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจปลูกไม้ผล ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจนให้ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมใจปลูกไม้ผล ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจนให้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อถล. ร่วมกันปลูกไม้ผล อาทิต้นมะกรูด เป็นต้น ในพื้นที่สาธารณะของตำบลตะโละกาโปร์ งบประมาณ
  2. ค่าดินปลูก จำนวน 20 ถุง ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  3. ค่าปุ๋ย จำนวน 10 ถุง ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  4. ค่าบัวรดน้ำ ขนาด 10 ลิตร จำนวน 4 ถัง ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  5. ค่าจอบขุด จำนวน 2 ด้าม ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  6. ค่าพันธุ์ต้นกล้าไม้ผล (ต้นมะกรูด) จำนวน 14 ต้น ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
  7. ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด 1.2 * 2.5 ม. เป็นเงิน 750 บาท
  8. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 1 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เป็นการสร้างจิตสำนึก ความรักความสามัคคีให้ อถล.ในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันปลูกไม้ผล เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืนต่อไป
2.เป็นการช่วยลดสภาวะโลกร้อน ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจน ให้ชุมชน
3. เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน อีกทั้งสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และครัวเรือนได้
4.พื้นที่ไม้ผลในตำบลตะโละกาโปร์ ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากประชาชนในชุมชนทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 5 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมกันถอดบทเรียน และปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ร่วมกันถอดบทเรียน และปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมหารือ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 3 กิจกรรมที่ดำเนินการ
2. สรุปผลประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหา อุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะ ในการจัดโครงการ
3. รวมกันจัดทำเล่มรายงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการของสภาเด็กและเยาวชน
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
รวมทั้งสิ้น 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 29 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 3 กิจกรรมที่ดำเนินการได้
  2. ทราบผลประโยชน์ที่ได้รับ ปัญหา อุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะ ในการจัดโครงการ
  3. สามารถจัดโครงการดังกล่าวฯ ได้อย่างต่อเนื่อง ในปีถัดๆ ไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,202.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้จำนวนครัวเรือนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ มีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ที่ถูกต้อง และให้ความสำคัญในเรื่องนี้
3. เพื่อลดอัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
4. เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตรในตำบล
5. เพื่อเพิ่มกลุ่มหรือเครือข่ายจัดการมลพิษทางอากาศของตำบล
6. เพื่อลดจำนวนครัวเรือนที่มีปัญหาขยะในพื้นที่ลง
7. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดคาร์บอน เพิ่มออกซิเจนในตำบลตะโละกาโปร์
8. เพิ่มแหล่งเรียนรู้เรื่องถังขยะเปียกในพื้นที่


>