โครงการภาคีร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพตำบลน้ำผุด
ชื่อโครงการ | โครงการภาคีร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพตำบลน้ำผุด |
รหัสโครงการ | 68-L5311-02-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 86,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสนั่น ศิริสม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 86,350.00 | |||
รวมงบประมาณ | 86,350.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ความเท่าเทียมในการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพถือเป็นเป้าหมายนโยบายที่สำคัญต่อสุขภาวะของประชากรโดยรวมในทุกประเทศ และเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) การปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสอบและประเมินการเข้าถึงบริการสุขภาพนั้นค่อนข้างซับซ้อน หลายประเทศยังคงเผชิญกับความท้าทายในการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ในการศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการสุขภาพ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system: GIS) ได้ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ความต้องการด้านการรักษาพยาบาล การเข้าถึง และการได้รับประโยชน์จากบริการสุขภาพ โดยเชื่อมโยงความหลากหลายของประชากรกับข้อมูลสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์และกำหนดลักษณะความต้องการในมิติต่าง ๆ จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลทำให้การได้รับประโยชน์จากบริการสุขภาพลดลง ลดการเข้าถึงบริการเชิงป้องกัน และลดอัตราการรอดชีวิต ซึ่งอาจส่งผลให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาล รวมถึงไม่ได้รับประโยชน์จากการรักษาเฉพาะทางซึ่งมักพบในเมืองใหญ่มากกว่า จึงไม่สามารถเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทและชุมชนห่างไกล แม้ว่าประชาชนทุกคนควรได้รับบริการด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติยังมีความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีจำกัด เช่น สถานพยาบาล หรือบุคลากรในวิชาชีพด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ดังนั้น การให้บริการทางสุขภาพในพื้นที่ จึงเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ได้รับการยอมรับ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการสุขภาพ สนับสนุนและบรรเทาความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพในพื้นที่ยากลำบากและด้อยโอกาส โดยนำระบบดูแลสุขภาพออกจากโรงพยาบาลไปสู่ประชาชน รูปแบบการให้บริการสุขภาพนี้สามารถขยายการเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างทั่วถึง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงร่วมมือกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จัดโครงการภาคีร่วมใจ ใส่ใจสุขภาพตำบลน้ำผุด ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคลดภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตลอดจนสามารถยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ น่าอยู่ น่าอาศัยต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ ปรับทัศนคติให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ80ของผู้ร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกาย | 0 | 76,350.00 | - | ||
13 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | ตลาดเพื่อสุขภาพดีคนน้ำผุด | 0 | 10,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 86,350.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีองค์ความรู้ ปรับทัศคติให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2568 00:00 น.