โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด บ้านท่ามาลัย ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด บ้านท่ามาลัย ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5312-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านท่ามาลัย |
วันที่อนุมัติ | 19 พฤษภาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 10 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 36,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอัสรุต กองบก |
พี่เลี้ยงโครงการ | นาวสาวอนัญญา เเสะหลี |
พื้นที่ดำเนินการ | บ้านท่ามาลัย ม.6 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างแก่สังคม เนื่องจากเป็นภัยต่อความมั่นคง และกระทบต่อความสงบสุขของประชากรในประเทศไทย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ระหว่าง 6-24 ปี จำนวน 21 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงทรงรับเป็นองค์ประธานโครงกรรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐ และเอกชนกระตุ้น ปลูกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ องค์กรใดองค์หนึ่ง แต่ทุกคนในชาติต้องร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จะต่อสู้เอาชนะปัญหายาเสพติด ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ ในกลุ่มเยาวชนเป็นเป้าหมายหลัก โดยวิธีการสร้างกระแสการไม่ข้องแวะยาเสพติด ด้วยการจัดตั้งชมรม "TO BE NUMBER ONE" ทั้งในสถานศึกษา และ นอกสถานศึกษาของทุกจังหวัดเพื่อให้เกิดค่านิยมของการเป็นหนึ่งได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด และจัดระบบการบำบัดรักษารองรับภายใต้โครงการ "ใครติดยายกมือขึ้น " ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะคืนคนดีสู่สังคม บ้านท่ามาลัยมีพื้นที่บ้านท่ามาลัย มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 1,800 ไร่ จำนวน 339 หลังคาเรือนประชากรทั้งสิ้น 1,112คน เพศชาย 519 คน เพศหญิง 593 คน มีกลุ่มประชาชนอายุ 10 - 24 ปี จำนวน 284 คน ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปทั้งหมด 428 คน พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นราบชายฝั่งทะเล ประชาชนจึงประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ประมงชายฝั่ง เกษตรกรรมเกษตรกรรม และรับจ้างทั่วไปตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95 นับถือศาสนาอิสลาม ลักษณะการตั้งบ้านเรือนกระจายทั่วทั้งหมู่บ้าน โดยมีมัสยิดเป็นจุดศูนย์ของหมู่บ้านชุมชนบ้านท่ามาลัยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนบ้านท่ามาลัย หมู่ที่ 6 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในช่วงปี พ.ศ.2564-2566 ยังพบปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดประเภท กระท่อม ยาบ้า ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้สารเสพติดจากทะเบียนผู้เข้ารับการบำบัด รักษาจากโรงพยาบาลละงู เป็นจำนวน 4 คน และกลุ่มใช้สารเสพติดที่สำรวจในชุมชนอีก 21 คน ตามลำดับ โดยในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดเป็นผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 3 คน ซึ่งกลุ่มอายุส่วนใหญ่ที่ใช้สารเสพติดจะเป็นกลุ่มวัยทำงาน เยาวชน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุหลักๆในการใช้สารเสพติดเพื่ออยากลอง อยากให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนในกลุ่ม มีเวลาว่างมากไม่มีงานทำ หรือมีงานทำเป็นระยะๆ เช่น ประมงชายฝั่ง จึงต้องมีการใช้สารเสพติดในช่วงเวลาว่างจากการทำงาน จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ ครอบครัว ชุมชน เกิดความวุ่นวาย หวาดกลัว เป็นภาระให้กับผู้นำชุมชนในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแลในยามค่ำคืน เกิดการลักขโมยสิ่งของในชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาในชุมชนมีกิจกรรมต่างๆในการเฝ้าระวังแก้ปัญหาการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมแข่งขันกีฬาในชุมชน การตั้งจุดตรวจในชุมชน การส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักกินเองในครอบครัวเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
จากสถานการณ์ที่กล่าวมานั้น ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการดำเนินงานอย่างจริงจังและเข้มข้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ดังนั้นชุมชนบ้านท่ามาลัย หมู่ที่ 6 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการ TO BE NUMBER ONEเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นแกนกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดีและสร้างเครือข่าย TO BE NUMBER ONE ที่มีศักยภาพเพื่อจะทำให้การดำเนินป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เกิดแกนนำในการต่อต้านป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 100 เยาวชนผ่านการอบรมเกิดทักษะเชิงบวกในการป้องกันสารเสพติดและมีแกนนำเยาวชนในการต่อต้านและป้องกันยาเสพติดในชุมชน |
100.00 | 1.00 |
2 | เพื่อให้ชมรม TO BE NUMBER ONEมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เกิดกิจกรรมTO BE NUMBER ONE อย่างต่อเนื่อง |
100.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 36,150.00 | 0 | 0.00 | |
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | แต่งตั้งและประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน | 0 | 150.00 | - | ||
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมแกนนำเยาวชนสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE บ้านท่ามาลัย | 0 | 23,200.00 | - | ||
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสการรับรู้การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชน | 0 | 11,000.00 | - | ||
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมติดตามการดำเนินงานโครงการ | 0 | 1,200.00 | - | ||
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | สรุปโครงการ | 0 | 600.00 | - |
1.เยาวชนได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดให้โทษ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 2.มีชมรม TO BE NUMBER ONE เพิ่มขึ้นในสถานศึกษาและชุมชนและมีการดำเนินกิจกรรมตามหลัก ๓ก 3ย อย่างเป็นรูปธรรม 3.เยาวชนเห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2568 20:17 น.