โครงการ ป้องกันและชะลอ ข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
ชื่อโครงการ | โครงการ ป้องกันและชะลอ ข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก |
รหัสโครงการ | 68-L-3321-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 4 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 10 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 18,120.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 18,120.00 | |||
รวมงบประมาณ | 18,120.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมโรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจหากประชาชนหรือผู้ที่เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อมมีความรู้สามารถดูแลตนเองเพื่อชะลอความเสื่อม หรือบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวพบว่าในปี ๒๕64 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า ๖ ล้านคน พบทั้งผู้สูงอายุและวัยกลางคนมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆปี โดยในอดีตโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบในอายุน้อยลง ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า ๔๕ ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า ๔๕ ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่าทั้งชายและหญิงที่มีอายุ ๗๕ ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ ๘๐-๙๐ นอกจากอายุจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแล้ว ยังพบว่าอาชีพหรือการทำงานหนักก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ผลการคัดกรองข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทยในปี ๒๕67พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๗.๔ ภาวะโภชนาการร้อยละ ๑๐.๒ โรคเบาหวานร้อยละ ๙.๔ โรคข้อเข่าเสื่อมร้อยละ๘.๗ โรคหัวใจแลหลอดเลือดร้อยละ ๖.๖ ตาต้อกระจกร้อยละ๕.๓ ตามลำดับ ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปจะได้รับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยการให้ยารับประทาน หรือไม่ก็ผ่าตัด ส่วนการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั้น จะมีการรักษาด้วยการนวดกดจุด การจ่ายยาสมุนไพร และการพอกยาเพื่อช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวด ยาสมุนไพรนั้นถือว่าเป็นยาที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ และเป็นการนำสมุนไพรที่อยู่รอบๆตัวมาใช้ประโยชน์ ส่วนการพอกด้วยสมุนไพรก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์แผนไทยนิยมใช้ในการรักษาโรคจับโปงเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคจับโปงเข่า จะมีอาการปวดมาก บวม แดง ร้อน ขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งการพอกด้วยสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรมาพอกเพื่อดูดพิษการอักเสบตามข้อต่างๆ ที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นหนึ่งในจำนวนหลายๆโรคที่ตรวจพบ ดังนั้นงานแพทย์แผนไทยจึงมีแนวทางการดูแลรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดข้อเข่า และการรับประทานยาแผนปัจจุบัน ซึ่งการรับประทานยาจะทำให้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลายด้าน อาทิ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของกลุ่มวัยผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการโครงการป้องกันและชะลอ ข้อเข่าเสื่อม ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมใช้สมุนไพรในการพึ่งตนเองได้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะข้อเข่าเสื่อม วิธีการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยตลอดจนการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตอบสนองนโยบายกรมพัฒนางานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และนโยบายงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจังหวัด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากกว่า ร้อยละ 45 ผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในระดับปฐมภูมิได้รับการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากกว่า ร้อยละ 45 |
53.12 | 50.00 |
2 | เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า มีการนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า |
90.00 | 10.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | กิจกรรมหลัก กิจกรรมพอกเข่า | 50 | 18,120.00 | - | ||
รวม | 50 | 18,120.00 | 0 | 0.00 |
1.ระดับความเจ็บปวดลดลง อย่างน้อย 1 ระดับ 2.ลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2568 10:52 น.