กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวตะโละหะลอร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย พาหะร้ายนำสู่โรคไข้เลือดออก ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L4158-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2568
งบประมาณ 30,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโต๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านเดียวกัน ในช่วงระยะเวลาติดต่อกัน 28 วัน นับจากวันที่พบผู้ป่วยรายแรก
3.00
2 ร้อยละการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือในชุมชน และพื้นที่สาธารณะ (ค่าHI/CI)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ของประเทศ ดังนั้นการดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค จึงควรดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ จัดการแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน บ้านเรือน ศาสนสถาน และสถานที่ราชการ โรคไข้เลือดออกส่วน ใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะ พาหะของโรคคือยุงลายลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวนขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (506) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 25 กันยายน 2567 (สัปดาห์การระบาดที่ 38) สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2567 พบการ ระบาดของโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า พ.ศ. 2566 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.3 เท่า โดยในปี 2567 พบอัตราป่วย 124.32 รายต่อแสน ประชากร ในปี 2566 พบอัตราป่วย 163.69 รายต่อแสนประชากร แต่ก็พบว่าอัตราป่วยในปี 2567 สูงกว่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2562-2566)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,020.00 0 0.00
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 อบรมให้ความรู้แนวทางการจัดการและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 13,240.00 -
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 รณรงค์และประกวดพื้นที่ปลอดภัย ทีมอสม.เพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะร้าย นำสู่โรคไข้เลือดออก วงจรชีวิตของยุงลาย 0 16,780.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำ อสม. ผู้นำศาสนา และชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
  2. ประชาชนเกิดความตระหนักและเกิดพฤติกรรมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เผื่อต่อการกระจายโรคและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
  3. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 1ปี ที่ผ่านมา
  4. พื้นที่สาธารณะของชุมชน ก่อให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการกระจายของโรค อาทิ ตาฎีกา มัสยิด มีความปลอดภัยและห่างไกล ไร้แหล่งเพาะพันธุ์โรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 00:00 น.