โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลบ้านหาร ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชนในตำบลบ้านหาร ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5211-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร |
วันที่อนุมัติ | 13 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 13,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกรรณิการ์ ปิ่นทองพันธุ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.075,100.45place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 13,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 102 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่ออวัยวะเยื่อบุ
ทุกส่วนของร่างกาย เป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บมากมาย และบั่นทอนสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ เป็นหนี่งในปัจจัยหลักของโรคเรื้อรังหลายโรค รวมทั้งโรคมะเร็ง โรคปอด และโรคหลอดเลือดหัวใจ การสูบบุหรี่หนึ่งมวนทำให้อายุสั้นลง
๕-๖ นาที ทั้งนี้ครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ต่อเนื่องจะตายก่อนวัยอันควรโดยเฉลี่ยประมาณ ๑๕ ปี องค์การอนามัยโลกระบุว่า ๑ ใน ๓ ของโรคมะเร็งทั้งหมดสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่
จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมสูบบุหรี่มากขึ้น เนื่องจากเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อันเป็นผลจากการเจริญเติบโต และเป็นวัยที่ต้องการทดลองและเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ข้อมูลการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย ปี ๒๕๖๒ พบว่า ประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปสูบบุหรี่ ๑๐.๙๐ ล้านคน (ร้อยละ๒๐.๗๐) อัตราการสูบบุหรี่ของเพศชายเท่ากับร้อยละ ๔๐.๔๗ เพศหญิง เท่ากับร้อยละ ๒.๐๑ โดยมีผู้สูบบุหรี่ที่เริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยที่สุดเพียง ๖ ปี และล่าสุดจากผลการสำรวจ พศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าทุกกลุ่มวัยมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ลดน้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปีเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุยังน้อยค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่นๆ
จากข้อมูลการคัดกรองการสูบบุหรี่ของประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป อำเภอบางกล่ำ ในปี ๒๕๖๕, ปี ๒๕๖๖ และปี ๒๕๖๗ พบผู้ที่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ ๙.๒๗, ๕.๘๖, ๖.๔๓ (จากฐานข้อมูล HDC สสจ.สงขลา) ในส่วนของตำบลบ้านหาร ในปี ๒๕๖๕, ปี ๒๕๖๖ และปี ๒๕๖๗ พบผู้ที่สูบบุหรี่ในกลุ่มอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๙, ๒๐.๑๖ และ ๒๑.๑๗ ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนและเยาวชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชนตำบลบ้านหาร ปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ขึ้น เพื่อให้เยาวชนอันเป็นกำลังสำคัญของชุมชนมีแนวทาง วิธีการในการป้องกันพฤติกรรมการสูบบุหรี่ มีทักษะการปฏิเสธ สามารถเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสมในการเผชิญปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันและสกัดกั้นการสูบบุหรี่ระยะยาวในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของการสูบบุหรี่
|
||
2 | เพื่อให้เยาวชนมีทักษะชีวิต ในการป้องกันการสูบบุหรี่
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้โทษภัยของการสูบบุหรี่ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านหาร จำนวน ๘๘ คน และประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้แบบสอบถาม
๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้โทษภัยของการสูบบุหรี่ในนักเรียน โรงเรียนพัฒนาวิทยามูลนิธิ จำนวน๑๔ คน และประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้แบบสอบถาม
๓. สรุปการประเมินผล และผลการดำเนินงาน
- ไม่เกิดนักสูบหน้าใหม่ ในพื้นที่ตำบลบ้านหาร
- เพื่อให้เยาวชนในตำบลมีแนวทางในการประยุกต์ใช้แนวคิดทักษะชีวิตเพื่อป้องกันปัญหาในด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในเด็กวัยรุ่นได้ต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 12:09 น.