กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุก หมู่ที่ 1-4 และ 13 ตำบลพนางตุง
รหัสโครงการ 68-L3323-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง หมู่ที่ 1-4 และ 13(เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทะเลน้อย)
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 28 กุมภาพันธ์ 2569
กำหนดวันส่งรายงาน 1 มีนาคม 2569
งบประมาณ 138,321.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางบำเพ็ญ ปิดเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 357 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2181 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
15.76
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
1.00
3 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
20.00
4 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและ
788.02

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ตำบลพนางตุงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 50 ต่อแสนประชากร จากสถิติการเกิดโรคในปี พ.ศ. 2567 พื้นที่หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , และ 13 พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก 5 , 6 , 0 , 5 , และ 4 ราย รวม 20 ราย อัตราการป่วย 788.02 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 738.02 ต่อแสนประชากร ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุกตำบลพนางตุง หมู่ที่ 1 – 4 และ 13 ตำบลพนางตุง ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกแบบเชิงรุก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน ร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

20.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

1.00 2.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

15.76 7.88
4 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2567อย่างน้อยร้อยละ 50

738.02 369.01
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 68 - 31 ธ.ค. 68 ควบคุมโรคไข้เลือดออก (ขณะเกิดโรค) 0 94,935.00 -
25 ก.พ. 68 อบรมการสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย 0 2,610.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 กิจกรรมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย (ก่อนเกิดโรค) 0 40,776.00 -
รวม 0 138,321.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50 (เทียบกับปี 2567)
  2. มีระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
  3. มีหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ CDCU ตอบโต้เร็ว ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
  5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม “บ้านนี้สะอาดดีไม่มีลูกน้ำยุงลาย”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ