กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุก หมู่ที่ 1-4 และ 13 ตำบลพนางตุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง หมู่ที่ 1-4 และ 13(เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทะเลน้อย)

1. นางบำเพ็ญปิดเมือง
2. นางกนกพรรัตนะ
3. นางสุพรบุญช่วย
4. นายชาญจเรทัพชัยยุทธ
5. นางวีระวรรณพัดชา

หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 และ 13 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

15.76
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

1.00
3 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

20.00
4 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและ

 

788.02

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ตำบลพนางตุงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 50 ต่อแสนประชากร จากสถิติการเกิดโรคในปี พ.ศ. 2567 พื้นที่หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , และ 13 พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก 5 , 6 , 0 , 5 , และ 4 ราย รวม 20 ราย อัตราการป่วย 788.02 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 738.02 ต่อแสนประชากร ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพนางตุง เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบเชิงรุกตำบลพนางตุง หมู่ที่ 1 – 4 และ 13 ตำบลพนางตุง ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกแบบเชิงรุก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน ร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

20.00 10.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

1.00 2.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

15.76 7.88
4 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปี 2567อย่างน้อยร้อยละ 50

738.02 369.01

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 357
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,181
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 28/02/2026

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมการสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 900.- บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (อสม. 54 คน วิทยากร 1 คน เจ้าหน้าที่ 2 คน)รวมจำนวน 57 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,710.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. จัดอบรม 1 ครั้ง 2. อสม. เข้าร่วมอบรมร้อยละ 100 ผลลัพธ์ 1. อสม.มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2. อสม.สำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายได้ถูกต้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2610.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย (ก่อนเกิดโรค)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย (ก่อนเกิดโรค)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 54 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 16,200.- บาท 2.ค่าตอบแทนพ่นละอองฝอย ในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม (โรงเรียนบ้านชายคลอง โรงเรียนบ้านควนพนางตุง โรงเรียนพนางตุง) จำนวน 3 โรงเรียนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน 3,240 แผ่นๆ ละ 0.50 บาทเป็นเงิน 1,620.- บาท (54 คน x 3 แผ่น x 2 ครั้ง x 10 เดือน = 3,240 แผ่น) 4.ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจการเข้าร่วมโครงการบ้านนี้สะอาดดีไม่มีลูกน้ำยุงลายจำนวน 1,084 แผ่นๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 542.- บาท 5.ค่าคลิปบอร์ด A4 สำหนับหนีบเอกสารจำนวน 54 อันๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 2,970.- บาท 6.ค่าปากกาจำนวน 54 ด้ามๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน540.- บาท 7.ค่าป้ายสติ๊กเกอร์ “บ้านนี้สะอาดดีไม่มีลูกน้ำยุงลาย”ขนาด 15 ซม. x 20 ซม.จำนวน 1,084 แผ่นๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 6,504.- บาท 8.ค่าทรายอะเบท 25 ก.ก.จำนวน 2 ถังๆ ละ 4,700 บาท เป็นเงิน 9,400.- บาท **หมายเหตุ
-สำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย จำนวน 5 หมู่บ้าน เดือนละ 2 ครั้ง -รณรงค์สำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย ในวัดควนพนางตุง วัดสวนธรรมเจดีย์ ศูนย์ศรัทธาธรรมสุคะโต โรงเรียนบ้านชายคลอง โรงเรียนบ้านควนพนางตุง โรงเรียนพนางตุง โดย อสม. เดือนละ 1 ครั้ง (จำนวน 10 เดือน) -พ่นละอองฝอยในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม (โรงเรียนบ้านชายคลอง โรงเรียนบ้านควนพนางตุง โรงเรียนพนางตุง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. สำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย จำนวน 5 หมู่บ้าน เดือนละ 2 ครั้ง จำนวน 1,084 หลังคาเรือน ผลลัพธ์ 1. ค่า HI น้อยกว่า 5 ร้อยละ 80 2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40776.00

กิจกรรมที่ 3 ควบคุมโรคไข้เลือดออก (ขณะเกิดโรค)

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคไข้เลือดออก (ขณะเกิดโรค)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าพาหนะในการเดินทางลงพื้นที่ของหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ CDCU ตอบโต้เร็วภายใน 30 นาที รัศมี 100 เมตร จำนวน 4 คนๆ ละ 100 บาท ผู้ป่วย 20 รายๆ ละ 3 ครั้ง เป็นเงิน 24,000.- บาท
  2. ค่าสเปรย์พ่นยุง 600 มล.จำนวน 300 กระป๋องๆ ละ 98 บาท เป็นเงิน 29,400.- บาท(รัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วย 20 รายๆ ละ 3 ครั้ง จำนวน 5 กระป๋อง)
  3. ค่ายาทากันยุง(ขนาด 8 มล. แผงละๆ 24 ซอง ราคาแผงละ 120 บาท จำนวน 10 แผงเป็นเงิน 1,200.- บาท
  4. ค่าเครื่องดักจับยุง จำนวน 5 เครื่องละๆ 699 บาทเป็นเงิน 3,495.- บาท
  5. ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย จำนวน 2 ขวดๆ ละ 2,250 บาทเป็นเงิน 4,500.- บาท
  6. ค่ากระเป๋าใส่อุปกรณ์ควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 5 ใบๆ ละ 890 บาทเป็นเงิน 4,450.- บาท
  7. ค่าตอบแทนพ่นละอองฝอย ในบ้านผู้ป่วย (สงสัย เข้าข่าย ยืนยัน) และบ้านละแวกใกล้เคียง รัศมี 100 เมตร จำนวน 20 รายๆ ละ 3 ครั้งๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 18,000.- บาท
  8. ค่าชุดเครื่องเสียงล้อเลื่อน พร้อมไมล์โครโฟน (ใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้) ขนาดไม่น้อยกว่า 12 นิ้ว จำนวน 1 ชุดๆ ละ 9,890 บาทเป็นเงิน 9,890.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคตามมาตรการ 037 ทุกราย ผลลัพธ์ 1.ไม่พบผู้ป่วยรายที่ 2 ในรอบ 28 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
94935.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 138,321.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 50 (เทียบกับปี 2567)
2. มีระบบการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที
3. มีหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ CDCU ตอบโต้เร็ว ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
4. สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
5. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม “บ้านนี้สะอาดดีไม่มีลูกน้ำยุงลาย”


>