กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Remission Service) ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.บ้านชะรัด
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ทองรอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ อาจส่งผลให้โรคเบาหวานทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต ปลายประสาท และเท้า ได้ อีกทั้งยังเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ รพสต.บ้านชะรัด ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 พบผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 294ราย และปี 2567 จำนวน299ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67ดังนั้นชมรม อสม. รพสต.บ่านชะรัด ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล รวมทั้งการใช้แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมาพูดคุยให้คำปรึกษา รวมทั้งหารือทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องรายบุคคล พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ หรือ ไลน์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ

1.มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา 2.มีการออกกำลังกายของผู้ป่วยโดยใช้โปรแกรมขยับกาย 3.อสม.ผู้ดูแลสามารถใช้งาน กลุ่มไลน์ส่งข้อมูล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง

40.00 50.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหยุดยาเบาหวานได้ (เข้าสู่ระยะสงบ)

1.ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบอย่างน้อยร้อยละ50
2.ร้อยละการควบคุม HbA1C ในผู้ป่วยเบาหวานไม่เกิน 6.5 ต่อเนื่องไม่ต่ำกกว่า 3 เดือน ร้อยละ50

50.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 68 จัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) ของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ 30 600.00 -
4 เม.ย. 68 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรค เบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวาน แก่กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 คน 0 5,500.00 -
1 พ.ค. 68 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ 6 ครั้ง ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม.7 ครั้ง 0 22,000.00 -
รวม 30 28,100.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถหยุดยาเบาหวานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2568 13:37 น.