โครงการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง |
รหัสโครงการ | L3363-2568-1009 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) |
วันที่อนุมัติ | 17 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,275.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอรวรรณ์ ทวีโชติ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสุนิภา ยั่งยืน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
พื้นที่ดำเนินการ | ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุข อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 65 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของหญิงไทยเป็นอันดับสองรองลงมาจากมะเร็งเต้านมพบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัยชราอายุ 80 ปี และพบมากในช่วงอายุ 35 - 50 ปี ซึ่งพบมาก ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยทุกๆ 2 นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คนขณะที่หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คน ต่อวัน ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 100 หรือเสียชีวิตประมาณ 4,500 คน ต่อปี โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 9,000 รายต่อปี ซึ่งร้อยละ 40-50 จะเสียชีวิตจากโรค ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะตกประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะ สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยหญิงไทยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมักเกิดความอายความกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะ ลุกลามทำให้มีอัตราการรอดชีวิตตำ ดังนันผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โรคมะเร็งเต้านมเป็นการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านม โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในกลุ่มอายุ 30-70 ปี เพื่อตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการค้นหาความผิดปกติตั้งแต่เริ่มแรก เน้นใช้วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองในกลุ่มเป้าหมาย ส่วนผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมผิดปกติหมายถึงกลุ่มอายุ 30-70 ปี กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการตรวจ Mammogram และได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมทางพยาธิวิทยาโรคมะเร็งลำไส้เป็นการค้นหากลุ่มอายุ ชาย-หญิง ที่มีอายุ 30-70 ปีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตรง ด้วยวิธี Fecal Immunoschernical Test เป็นบวก (Positive) คือตรวจพบเม็ดเลือดแดงในอุจจาระการส่องกล้อง Colonoscopy เป็นการวินิจฉัยความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงในระยะเริ่มต้น ดังนั้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็ว ที่สุดจึงได้จัดทำ "โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้" ในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรค มะเร็งเต้านมมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ได้สถานการณ์ปัญหา ปัญหาในกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยทำงาน ไปเช้ากลับค่ำ การประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจ มะเร็งเต้านม , มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ ในกรณีที่ผิดปกติยังรายงานผลที่แน่นอนไม่ได้ ยังต้องส่งต่อพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และติดตามผลการรักษาอีกครั้ง เช่น การอัลตร้าชาวด์หรือการส่องกล้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึง และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 80 |
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่(14 พ.ค. 2568-14 พ.ค. 2568) | 5,275.00 | |||||||||
2 | รณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่(14 พ.ค. 2568-14 พ.ค. 2568) | 7,000.00 | |||||||||
รวม | 12,275.00 |
1 อบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 65 | 5,275.00 | 0 | 0.00 | 5,275.00 | |
14 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ เรื่อง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ | 65 | 5,275.00 | - | - | ||
2 รณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 65 | 7,000.00 | 0 | 0.00 | 7,000.00 | |
14 พ.ค. 68 | รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ | 65 | 7,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 130 | 12,275.00 | 0 | 0.00 | 12,275.00 |
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
- กลุ่มเป้าหมายมะเร็งเต้านมได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี
- กลุ่มเป้าหมายมะเร็งปากมดลูก มีทักษะการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
- กลุ่มเป้าหมายเข้าถึง และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ครอบคลุม ร้อยละ 80
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2568 14:56 น.