โครงการส่งเสริมสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 39,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวรัญญา รัชกุล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แนวโน้มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ 3.7 เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ. 2565 – 2567 เพิ่มขึ้น 62, 58 และ 113 ราย ตามลำดับและพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ในปี พ.ศ. 2565 – 2567 เพิ่มขึ้น 28,18 และ 33 ราย ตามลำดับและตรวจพบภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ปี พ.ศ. 2565 - 2567 เพิ่มขึ้น 5, 26, 32 ราย ตามลำดับ
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแดจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และโรคอื่นๆ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามมารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ, 2ส
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างต่อเนื่อง
|
0.00 | |
4 | 4.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตอยู่ในภาวะปกติ
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 39,800.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ,2ส แก่ ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง (แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน) | 0 | 20,400.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมที่ 2 ติดตามผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ โดย นสค./ อสม.เขตรับผิดชอบ | 0 | 19,400.00 | - |
- ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้เรื่องโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรค
- ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามมารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ,2ส เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค
- ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามประเมินภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตอยู่ในภาวะปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2568 15:28 น.