กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสุขภาพดี (Wellness District Health)
รหัสโครงการ 68-L5211-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบางกล่ำ
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยุฑามาส วันดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประชาชน คนไทยใช้ชีวิตแบบรีบเร่งและแข่งขันมากขึ้นและให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการ สร้างให้เกิดความเครียดและไม่ใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้องนำมาซึ่งพฤติกรรมบางอย่างที่ส่งผลกระทบทางด้านลบต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารนอกบ้าน ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป นิยมบริโภคโปรตีนและไขมันสูง และนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ ขาดการ ออกกำลังกายการสูบบุหรี่การดื่มสุรามากเกินไป พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวส่งผลถึงปัญหาสุขภาพและภาวการณ์เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดที่สำคัญตามมา ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะวิตกกังวลและความเครียด รวมถึงโรคมะเร็ง ซึ่งโรคหรืออาการต่างๆ ดังกล่าว เป็นโรคหรืออาการเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศ และมีแนวโน้มของปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากสารเคมี โดยในอำเภอบางกล่ำมีสถานประกอบการที่มีการใช้สารเคมีอันตรายประมาณ 20 แห่ง นอกจากสารเคมีในภาคอุตสาหกรรมแล้ว สารกำจัดศัตรูพืชก็เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของความเสียหายจากศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะคุณภาพและความสวยงามของสินค้า ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ แต่การใช้สารเคมีทางการเกษตรก็มีโทษเช่นเดียวกัน โดยการใช้สารเคมีแต่ละครั้ง หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือป้องกันไม่เพียงพอ ก็จะทำให้สารพิษเข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสมในระยะยาว จนเมื่อสะสมในปริมาณมากพอก็จะแสดงอาการออกมา อีกทั้งยังทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในวงกว้าง (Christos A. Damalas and Ilis G.Eleftherohorinos, 2011,p.1403) การเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชไม่เพียงส่งผลกระทบทางสุขภาพของเกษตรกรเฉพาะเพียงกลุ่มเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้บริโภคอีกด้วย รวมถึงสารเคมีทางการเกษตรนอกจากจะปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ และยังเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองต้นแบบสุขภาพ (Healthy Cities MODELs) “เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน” โดยแนวคิดเมืองสุขภาพดี คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน เปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่ง Healthy Cities MODELs ประกอบด้วย 7 ดี คือ กินดี อยู่ดี อารมณ์ดี สติปัญญาดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมดี และระบบบริการสุขภาพที่ดี เพื่อให้งานด้านสาธารณสุขเข้าถึงชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ลดการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs และรองรับประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมและตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ก่อให้เกิดการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองได้แบบยั่งยืน สนับสนุนให้เกิดแกนนำเครือข่ายรักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยเริ่มต้นจากตนเองในการเปลี่ยนแปลงและมีความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิตและจะได้นำองค์ความรู้ไปปรับใช้ให้คนในครอบครัวและชุมชนมีสุขภาพดีบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาสู่เมืองต้นแบบ (Healthy Cities MODELs)

 

2 เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ การใช้สารเคมี และภัยสุขภาพจากสารเคมี

 

3 เพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย การผลิตเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดสารพิษ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานพัฒนาสู่เมืองต้นแบบ (Healthy Cities MODELs) ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
  2. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน
  3. พัฒนาเครือข่ายเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย ได้แก่

- จัดทำทะเบียนสำรวจเกษตรกรและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ - เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง โดยการคัดกรองสุขภาพตามแบบฟอร์ม นบก.1-56 โดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส - ประสานผู้นำชุมชนอสม.ในพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง และ ดำเนินการคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย โดยแยกกลุ่มประชากรตามแบบคัดกรองแบ่งเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง - การเจาะเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงเพื่อตรวจหาระดับสารเคมีในเลือด - สรุปผลการตรวจเลือดให้ประชาชนได้ทราบผลการตรวจ หากตรวจพบว่าปกติ เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการดูแลพฤติกรรม สุขภาพ หากตรวจพบความผิดปกติ จะได้รับการส่งต่อในการรักษาไปยังโรงพยาบาล 4 ยกระดับคลินิกสุขภาพเกษตรกรใน รพ.สต. จัดมุมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกษตรกร การทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี 5. อบรมให้ความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนสารเคมีและการทำสารชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน (การทำน้ำยาอเนกประสงค์ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์) แก่ประชาชน เกษตรกร ในพื้นที่ 6. จัดพื้นที่เส้นทางสุขภาพในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสู่พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต 7. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดีด้านสังคม พัฒนาศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ 8. พัฒนาต้นแบบ Healthy city Model 9. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 10. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดพื้นที่ต้นแบบดำเนินงานตามเกณฑ์“เมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน” ประชาชนเป้าหมายในพื้นที่ ตำบลบ้านหาร ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ 100
  2. ประชาชน เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสารเคมีต้องห้ามตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและการล้างผัก ผลไม้เพื่อลดสารปนเปื้อนที่ถูกวิธี
  3. เกิดแหล่งเรียนรู้เส้นทางสุขภาพในชุมชน และสามารถพัฒนาสู่พื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต และ เกิดต้นแบบ Healthy city Model
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 15:48 น.