โครงการกายภาพบำบัดเพื่อสุขภาพผู้สูงวัยก้าวเดินมั่นใจ ไม่ล้ม
ชื่อโครงการ | โครงการกายภาพบำบัดเพื่อสุขภาพผู้สูงวัยก้าวเดินมั่นใจ ไม่ล้ม |
รหัสโครงการ | 68-L3366-1-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีบรรพต |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ตำบลเขาปู่ |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ อำเภอศรีบรรพต ปี 2565 - ปี 2567 ร้อยละ 22.13, 23.06 และ 24.59 ตามลำดับ | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการวัดปัญหาสุขภาพของคนไทยโดยใช้การสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Year: DALY) พบว่าการล้มเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคเฉพาะของผู้สูงอายุ (Geriatric syndrome) และเป็นอุบัติการณ์สำคัญ โดยผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการล้มมากเป็นอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในกลุ่มโรคจากการบาดเจ็บ และเป็นสาเหตุอันดับแรกของการเกิดภาวะทุพลภาพ ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 30 หกล้มทุกปี และมักได้รับผลกระทบตามมาหลายด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย เกิดการบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นเสียชีวิต โดยประมาณ 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุที่หกล้มต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลจะเสียชีวิตในเวลา 1 ปีต่อมา ด้านจิตใจ มีความวิตกกังวล กลัวการหกล้ม และซึมเศร้า และด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่าการเข้าถึงบริการสุขภาพและสังคมลดลง ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง รวมถึงขาดการสนับสนุนจากชุมชน ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการหกล้มในผู้สูงอายุ มีทั้งปัจจัยภายนอกบุคคล เช่น พื้นลื่น บันไดบ้านไม่มีราวเกาะ และแสงสว่างไม่เพียงพอ ส่วนปัจจัยภายในบุคคล เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของระบบการทำงานต่างๆของร่างกายที่มีผลต่อการทรงตัว เช่น การมองเห็น ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ผลกระทบต่อผู้สูงอายุจากการหกล้มดังที่กล่าวข้างต้น หากผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม การส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่ถูกต้อง เหมาะสม และการสนับสนุนระบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยบริการเชิงรุกในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันและลดความรุนแรงได้ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีบรรพต จึงเห็นความสำคัญการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เพื่อลดการบาดเจ็บ และอัตราการเกิดความพิการ รวมทั้งผู้สูงอายุมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเหมาะสมตามช่วงวัยมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความตระหนัก ส่งเสริมความรู้ พฤติกกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม > 80 % |
100.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบระดับความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้ม และผลกระทบจากการหกล้ม ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการล้ม และโปรแกรมป้องกันการหกล้ม 100 % |
100.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 | |
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้ม และการดูแลสุขภาพให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ | 0 | 20,000.00 | - | - | ||
3 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมออกกำลังกายป้องกันการหกล้ม และแลกเปลี่ยนความรู้การป้องกันการหกล้มในการนำไปใช้ที่บ้าน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 |
- ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม น้อยลง
- ผู้สูงอายุมีอัตราการหกล้มลดน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2568 15:50 น.